2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title สภาพปัญหาของแผลที่เท้าผู้ป่วยเบาหวานที่ถูกส่งต่อมายังแผนกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสังคม อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย 
Date of Distribution 31 August 2018 
Conference
     Title of the Conference ทิศทางและการพัฒนาระบบสุขภาพไทย 
     Organiser วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     Conference Place โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟแอนด์รีสอร์ท 
     Province/State อุบลราชธานี 
     Conference Date 31 August 2018 
     To 31 August 2018 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 73-80 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของแผลที่เท้าผู้ป่วยเบาหวานที่ถูกส่งต่อมายังแผนกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสังคม โดยเก็บข้อมูล ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2560 – ธันวาคม 2560 ศึกษาจากผู้ป่วยจำนวน 28 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่และร้อยละ ซึ่งการศึกษาสภาพปัญหาของแผลที่เท้านี้ พิจารณาอยู่ 3 ประเด็นได้แก่ ตำแหน่งที่เป็นแผล ระยะเวลาที่เป็นแผล ระดับความรุนแรงและประเภทของแผล โดยใช้เครื่องมือ 3 ชนิดคือ 1.แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและแบบประเมินเท้าผู้ป่วยเบาหวาน 2.แบบประเมินการจำแนกแผลเบาหวานที่เท้าของ University of Texas Diabetic Wound Classification โดยพิจารณาจาก Grade (ระดับความลึกของแผล) และ Stage (การติดเชื้อและการขาดเลือด) 3.แบบประเมินแผลตามสมุฏฐานตรีโทษ โดยพิจารณาจาก ลักษณะของแผลตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ตำแหน่งที่เป็นแผลเบาหวานที่เท้าที่พบมากที่สุดคือ ฝ่าเท้า ซึ่งพบจำนวน 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 39.26 และระยะเวลาที่เป็นแผลเบาหวานที่เท้าที่พบมากที่สุดคือ ระยะเวลา 1 ปี โดยพบจำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 46.43 ในส่วนของการจำแนกแผลเบาหวานที่เท้า ตาม University of Texas Diabetic Wound Classification พบว่า ระดับความรุนแรงของแผลที่พบมากที่สุดคือ แผล Grade 1 Stage A ร้อยละ 25 รองลงมาคือ แผล Grade 2 Stage A ร้อยละ 21.43 และ แผลGrade 2 Stage C ร้อยละ 14.29 และการจำแนกแผลตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยพบว่า ประเภทของแผลที่พบมากที่สุดคือ แผลแบบวาตะ ร้อยละ28.57 รองลงมาเป็นแผลแบบปิตตะ ร้อยละ 25 และแผลแบบปิตตะระคนเสมหะ ร้อยละ 10.71 โดยผู้ป่วยที่ส่งต่อมายังแผนกแพทย์แผนไทยนั้นมีแผลตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยทั้ง 3 สมุฏฐาน ตามทฤษฎีการปรุงยาเพื่อสมานแผลที่เกิดจากทั้ง 3 สมุฏฐานนั้นพบว่า ตำรับยาขี้ผึ้งทาแผล WP255/2 จากจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลราม สามารถใช้ได้กับแผลทั้ง 3 สมุฏฐานตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย โดยได้นำมาใช้ในกรณีศึกษาแล้วเห็นแนวโน้มการสมานแผลดีขึ้น และใช้ระยะเวลาในการสมานแผล 12 วัน  
Author
585150075-0 Miss ROSSAMON PENGSING [Main Author]
Pharmaceutical Sciences Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0