2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำกรณีสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 6 กันยายน 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมทางวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ครั้งที่ 14 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
     จังหวัด/รัฐ มหkสารคาม 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 6 กันยายน 2561 
     ถึง 7 กันยายน 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2561 
     Issue (เล่มที่) ฉบับพิเศษ (การประชุมวิชาการ) ปี 2561 
     หน้าที่พิมพ์ 46 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานด้านสังคมและเศรษฐกิจบางประการของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ 2) เพื่อศึกษาสภาพการใช้ประโยชน์การได้รับการส่งเสริมปัญหาในการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ 3) เพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ และ 4)เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ ที่มีสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจบางประการที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างศึกษาคือ สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าตำบลดอนหัน จำนวน 145 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างเป็นระบบเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ประเมินระดับการมีส่วนร่วม 4 ด้าน จำนวนรวม 36 ประเด็น ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผน 2) ด้านการดำเนินงาน 3) ด้านการได้รับประโยชน์ และ 4) ด้านการติดตามประเมินผล โดยให้ค่าระดับการมีส่วนร่วมดังนี้ ไม่มีส่วนร่วม = 1 มีส่วนร่วมน้อย = 2 และมีส่วนร่วมมาก 3 จากนั้นนำคะแนนเฉลี่ยที่ได้มาเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด คือระดับคะแนนเฉลี่ย 1.00-1.66 หมายถึงไม่มีส่วนร่วม ระดับคะแนนเฉลี่ย 1.67-2.33 หมายถึงมีส่วนร่วมน้อย ระดับคะแนนเฉลี่ย 2.34 -3.00 หมายถึง มีส่วนร่วมมาก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด t - test และ F - test ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำส่วนมากเป็นเพศชาย สมาชิกกลุ่มมีอายุเฉลี่ย 59.9 ปี ส่วนมากจบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา และอาศัยอยู่ในพื้นที่มาแล้ว 52.7 ปี สมาชิกกลุ่มมีระยะเวลาประกอบอาชีพทางการเกษตร 35.9 ปี ขึ้นไป มีระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ เฉลี่ย 24.1 ปี สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำส่วนใหญ่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการกลุ่มผู้ใช้น้ำ มีพื้นที่ถือครองในเขตชลประทานเฉลี่ย 13.6 ไร่ มีจำนวนแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.5 คนต่อครัวเรือน สมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่ปลูกข้าวในฤดูฝน มีการปลูกผักทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง รายได้รวมในภาคการเกษตรต่อปี เฉลี่ย 63,222.75 บาท/ครัวเรือน รายได้รวมนอกภาคการเกษตรต่อปีเฉลี่ย 87,423.08 บาท/ครัวเรือน สมาชิกกลุ่มมีหนี้สินเฉลี่ย 193,270.59 บาท/ครัวเรือน สมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารการเกษตรจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ สมาชิกกลุ่มได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อหอกระจายข่าวมากที่สุด สมาชิกส่วนใหญ่ใช้น้ำจากสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากคลองดาดคอนกรีต และระบุว่าปริมาณน้ำได้รับจากสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าในฤดูฝน เพียงพอ แต่ในฤดูแล้งไม่เพียงพอ สภาพปัญหาการจัดการน้ำ ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดสรรน้ำ ด้านสมาชิก ด้านการดำเนินงานของกลุ่ม รวม 17 ประเด็น พบว่าสมาชิกมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย ทั้ง 17 ประเด็น ด้านการมีส่วนร่วม ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินการ ด้านการได้รับประโยชน์ และด้านการติดตามประเมินผล จำนวนรวม 36 ประเด็น พบว่า สมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำมีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อยทั้ง 36 ประเด็น การเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำจำแนกตามสภาพพื้นฐานทางด้านสังคมและเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา รายได้รวมในภาคการเกษตร พื้นที่การเกษตรเขตชลประทาน ระยะเวลาการเป็นสมาชิก และการมีตำแหน่งในกลุ่มผู้ใช้น้ำ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในบางประเด็น  
ผู้เขียน
565030064-2 นาง ปริมประภา รักษาภักดี [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0