2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัญหาสุขภาพของพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ พ.ศ.2560  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 7 กันยายน 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 9 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 25 
     ฉบับที่
     เดือน กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Study) เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพของพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 129 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า พนักงานเก็บขนขยะเป็นเพศชายร้อยละ 98.4 มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 43.58 ± 8.30 ปี สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมตอนต้นร้อยละ 39.5 ด้านข้อมูลการปฏิบัติงานพบว่า พนักงานเก็บขนขยะยกถังขยะมากกว่าหรือเท่ากับ 151 ครั้งต่อวันร้อยละ 40.9 จำนวนที่ยกมากที่สุดคือ 400 ถังต่อวัน และน้ำหนักที่ยกมากที่สุดต่อวันอยู่ในช่วง 51 - 100 กิโลกรัมร้อยละ 52.7 พนักงานไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน (หน้ากากอนามัย รองเท้าบู๊ท ถุงมือ) อยู่ที่ร้อยละ 59.7 จากการสัมภาษณ์ปัญหาสุขภาพและอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน พบว่า พนักงานเก็บขนขยะร้อยละ 72.1 มีอาการเจ็บป่วยในระยะเวลา 6 เดือนจากอาการไข้ หวัด ไอ ร้อยละ 51.6 อาการทางผิวหนังร้อยละ 50.5 ส่วนพนักงานขับรถร้อยละ 27.9 มีอาการเจ็บป่วยจากอาการไข้ หวัด ไอร้อยละ 47.2 อาการทางผิวหนังร้อยละ 44.4 อุบัติเหตุที่ได้รับจากการปฏิบัติงานของพนักงานเก็บขนขยะในระยะเวลา 6 เดือนพบว่า ถูกของมีคมทิ่มแทงร้อยละ 77.4 รองลงมาคือ ไม้เสียบลูกชิ้นทิ่มแทงและถูกสัตว์หรือแมลงกัดต่อยร้อยละ 72.0 และ 62.4 ตามลำดับ ส่วนพนักงานขับรถถูกสัตว์หรือแมลงกัดต่อยร้อยละ 80.6 รองลงมาคือ ลื่นล้มและสัมผัสสารเคมีร้อยละ 58.3 และ 52.8 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์การเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานพบว่า พนักงานสังกัดเทศบาลเมืองชัยภูมิได้รับอุบัติเหตุจากการถูกของมีคมทิ่มแทงร้อยละ 79.3 รองลงมาคือ สัตว์หรือแมลงกัดต่อยร้อยละ 75.9 ส่วนพนักงานสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลพบอุบัติเหตุจากการสัมผัสสารเคมีร้อยละ 73.9 รองลงมาคือ สัตว์หรือแมลงกัดต่อยร้อยละ 58.7 และพนักงานสังกัดเทศบาลตำบลพบการสัมผัสสารเคมีสูงถึงร้อยละ 80.0 รองลงมาคือ ไม้เสียบลูกชิ้นทิ่มแทงร้อยละ 68.0 ในด้านการยศาสตร์จากการปฏิบัติงานในช่วงระยะเวลา 6 เดือน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการปฏิบัติงานแบบเดิมด้วยท่าทางเดิมซ้ำๆ ร้อยละ 84.5 รองลงมาคือ การเกร็งข้อมือ แขน เพื่อยกถังขยะในน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นและออกแรงยกถังขยะที่มีน้ำหนักเกิน 55 กิโลกรัมร้อยละ 75.0 และ 69.8 ตามลำดับส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อโดยความชุกของอาการปวดกล้ามเนื้อในระยะเวลา 6 เดือนที่พบมากที่สุดคือบริเวณหลังร้อยละ 74.4 รองลงมาคือ อาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณเอวและอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ร้อยละ 58.9 และ 48.8 ตามลำดับ ผลการศึกษานี้บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพของพนักงานเก็บขนขยะในด้านการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ รวมถึงอาการปวดกล้ามเนื้อ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันปัญหาสุขภาพจากการประกอบอาชีพในหน่วยงานต่อไป 
     คำสำคัญ 1.อาการเจ็บป่วย 2.อุบัติเหตุ 3.อาการปวดกล้ามเนื้อ 
ผู้เขียน
595110131-1 น.ส. ธันนารี เจนวิถี [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0