2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การใช้แบบสะท้อนตนเอง (Self-Reflection) เพื่อพัฒนาความเข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  
Date of Distribution 31 July 2018 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มอบ. ครั้งที่ 12 
     Organiser มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     Conference Place มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     Province/State อุบลราชธานี 
     Conference Date 12 July 2018 
     To 13 July 2018 
Proceeding Paper
     Volume 12 
     Issue
     Page 64-73 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract เนื้อหาในวิชาเคมีในระดับที่สูงขึ้นอาศัยความรู้ความเข้าใจในวิชาเคมีหลายๆ ส่วนเพื่อสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้น เกิดเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย การตระหนักรู้ตนเองซึ่งเป็นความสามารถในระดับการรู้คิด (metacognition) จึงมีความสำคัญในการพัฒนาความเข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ในระดับสูง ดังนั้นในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในพัฒนาความเข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบสะท้อนตนเอง (self-reflection) ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในการตระหนักรู้ถึงความเข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าเคมี ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้แบบจำลองเป็นฐาน (model-based learning: MBL) โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 มีจำนวนนักเรียน 28 คน ของนักเรียนจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น รูปแบบงานวิจัยเป็นการวิจัยแบบขั้นก่อนการทดลอง (pre-experimental design) ที่มีการทดสอบก่อนและหลังเรียน เพียงกลุ่มเดียว (one group pretest-posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีแบบจำลอง เป็นฐาน แบบวัดความเข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่องไฟฟ้าเคมี และแบบสะท้อนตนเองถึงความเข้าใจในแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เครื่องมือดังกล่าวได้ผ่านการหาคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มีการนำไปวิเคราะห์ความเข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ร่วมกับจัดกลุ่มการสะท้อนตนเอง โดยใช้สถิติเชิงพรรณา (descriptive statistics) หลังการจัดการเรียนรู้พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่องไฟฟ้าเคมี อยู่ในระดับความเข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์ในทุกมโนมติมากที่สุดในเรื่องแผนภาพเซลล์กัลวานิกร้อยละ 85.71 นักเรียนที่มีรูปแบบการสะท้อนตนเองในระดับที่มีการสะท้อนตนเองได้ (reflection) สามารถเปลี่ยนระดับความเข้าใจแนวคิดวิทยาศาสตร์จากระดับต่ำไปเป็นระดับปานกลางและระดับสูงร้อยละ ร้อยละ 35.71 และ 10.71 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มนักเรียนที่มีการสะท้อนตนเองได้อย่างดียิ่ง (critical reflection) สามารถสะท้อนตนเองทั้งด้านเนื้อหาและปัญหาในการเรียน พร้อมระบุแนวทางแก้ไขปัญหา สามารถเปลี่ยนระดับความเข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์จากระดับต่ำ ไปเป็นระดับปานกลางและระดับสูงร้อยละ ร้อยละ 17.86 และ 28.57 ตามลำดับ ผลจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการใช้การสะท้อนผลตนเองในขั้นตอนการสร้างแบบจำลองเพื่อความเข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เรื่องไฟฟ้าเคมีสามารถพัฒนาความเข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้  
Author
595050190-8 Mr. PICHAI PANYASARN [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0