2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 17 กันยายน 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ฝ่ายวิจัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 12 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาสัดส่วนและวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะแทรกซ้อนทางไตที่ศึกษาได้แก่ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย(Microalbuminuria) แมคโครอัลบูมินนูเรีย(Macroalbuminuria) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารักษาที่โรงพยาบาลมหาชัยชนะ จังหวัดยโสธร เก็บข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะทางคลินิกและทางชีวเคมี ผลการตรวจแถบสีตรวจปัสสาวะ(Dipstick)และ แถบสีตรวจไมโครอัลบูมินนูเรีย (Microalbuminuria Dipstick)เพื่อนำมาหาภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย และภาวะแมคโครอัลบูมินนูเรีย เก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิคส์ hosXPของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการรักษาระหว่าง มกราคม – ธันวาคม 2560 จำนวนทั้งหมด 1,495 ราย วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลและลักษณะทางคลินิกและทางชีวเคมีกับภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย และภาวะแมคโครอัลบูมินนูเรียโดยใช้สถิติถดถอยพหุโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นเพศหญิงร้อยละ68.2 มีอายุเฉลี่ย (65.3, ±10.5 ปี) ระยะเวลาการเป็นเบาหวานเฉลี่ย(10.3 ±3.4 ปี) กลุ่มตัวอย่างมีภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย ร้อยละ 33.3 ภาวะแมคโครอัลบูมินนูเรีย ร้อยละ 31.7 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีไมโครอัลบูมินนูเรียจากจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 947 คน พบว่า ระยะการเป็นเบาหวาน ≥10 ปี(adjusted OR 1.97, 95%CI=1.35 to 2.88, p-value = .001),ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด≥150.0 mg/dl(adjusted OR 1.55, 95%CI: 1.12 to 2.14p-value = .007) สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีแมคโครอัลบูมินนูเรียจากจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 925 คนได้แก่ เพศชาย (adjusted OR 1.75, 95%CI: 1.29 to 2.36,p-value = .001), อายุ ≥60 ปี (adjusted OR 1.53, 95%CI:1.12 to 2.09, p-value = .007), ระยะการเป็นโรคเบาหวาน≥10 ปี (adjusted OR 1.41, 95%CI=1.04 to 1.92, p-value = .024), ความดันซีสโตลิก≥130 mmHg(adjusted OR 1.39, 95%CI: 1.04 to 1.85,p-value = .025), ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด ≥ 150mg/dl(adjusted OR 1.75, 95%CI:1.33 to 2.31,p-value = .001) และระดับกรดยูริกในเลือด›7.0 mg% (adjusted OR 2.11, 95%CI: 1.54 to 2.89,p-value = .001) สรุปผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หนึ่งในสามมีภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย และอีกหนึ่งในสามมีภาวะแมคโครอัลบูมินนูเรียดังนั้นโรงพยาบาลควรมีการคัดกรองภาวะไมโครอัลบูมินนูเรียและภาวะแมคโครอัลบูมินนูเรียอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นเพศชายมีระยะการเป็นโรคเบาหวานนานกว่า 10 ปีรวมถึงการแนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงและระดับกรดยูริกในเลือดสูง เพื่อชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต  
     คำสำคัญ ภาวะแทรกซ้อนทางไต,ภาวะไมโครอัลบูมินนูเรีย,ภาวะแมคโครอัลบูมินนูเรีย, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 
ผู้เขียน
595110107-8 นาย ชิตกมล ศรีชมภู [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0