2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 17 กันยายน 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 12 
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า
     บทคัดย่อ คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง QUALITY OF LIFE AMONG CAREGIVERS OF PALLIATIVE CARE PATIENTS อรวรรณ พูนศรี1,วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์2 ,เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร3 Orawan Poonsri, Wilawan Chomnirutana, Kessarawan Nilvarangkul บทคัดย่อ การศึกษาแบบผสานวิธีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง ปัญหาและความต้องในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองในจังหวัดนครราชสีมากลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณจำนวน 511 คนจากการสุ่มอย่างง่าย และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพจำนวน 10 คนจากการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองส่วนมากเป็นเพศหญิงร้อยละ 81.4 อายุเฉลี่ย 50-59 ปี ร้อยละ 32.5 สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 80.8 การศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 66.7 อาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 72.2 ผู้ดูแลให้การดูแลผู้ป่วยประคับประคองที่ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองมากที่สุดร้อยละ 32.3 สำหรับคุณภาพชีวิตพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองมีคุณภาพชีวิตภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x ̅ =3.52, S.D. =0.35 ) เมื่อพิจารณาคุณภาพชีวิตรายด้าน พบว่าคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลางมี 3 ด้านได้แก่ ด้านสุขภาพกายด้านสุขภาพจิต และด้านสัมพันธภาพทางสังคม ( x ̅ =3.21, S.D. =0.40, x ̅ =3.42, S.D. =0.43, x ̅ =3.67, S.D. =0.51 ) สำหรับคุณภาพชีวิตที่อยู่ในระดับดี 1 ด้านได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อมในระดับดี (x ̅ =3.78, S.D. =0.42 ) ปัญหาที่ทำให้คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลางได้แก่ การเจ็บป่วยจากการดูแลผู้ป่วย การดูแลสุขภาพตนเองไม่เหมะสม เครียดวิตกกังวล การเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนลดลง รายได้และแหล่งกู้ยืมไม่เพียงพอ ผู้ดูแลผู้ป่วยต้องการผู้ผลัดเปลี่ยนในการดูแลผู้ป่วย ความเข้าใจระหว่างสามีและภรรยา การมีรายได้และแหล่งกู้ยืมเงิน ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและบุคลากรสุขภาพที่เกี่ยวข้องในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง คำสำคัญ คุณภาพชีวิต1, ผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง2, การวิจัยผสานวิธี3 Abstract This mixed methods research investigated quality of life of palliative patients’ caregivers, problems that impacts on their quality of life and needs of help to enhance their quality of life in Nakhon Ratchasima province. Random sampling was used to recruit 511 palliative patients’ caregivers for quantitative research and purposive sampling was applied to recruit 10 palliative patients’ caregivers for qualitative research. Data was collected using questionnaires and in-depth interviews. Descriptive statistics were employed to analyst quantitative data namely frequency, percentage, mean, standard deviation and range and content analysis was used to analyze qualitative data. Results of the study showed that 81.4 of palliative patients’ caregivers were females and 32.5 % had age ranged from 50-59 years. Eighty point eight percent were married, 66.7% had completed primary school, and 72.2% were farmers. Thirty two point three percent provided care for stroke patients. Total quality of life of palliative patients’ caregivers was in the average range ( x ̅ =3.52, S.D. =0.35 ). When considering in each dimension, it was found that three quality of life dimensions namely physical health, mental health and social relationship were at average levels ( x ̅ =3.21, S.D. =0.40 ; x ̅ =3.42, S.D. =0.43; x ̅ =3.67, S.D. =0.51 ). Quality of life in physical environment dimension was at above average level (x ̅ =3.78, S.D. =0.42). Palliative patients’ caregivers reported quality of life at average since they had problems with illness related to care for the patients, improper self-care, stress and anxiety, less participating in the community activities, inadequate income and recourses to borrow money. What palliative patients’ caregivers needed for enhancing their quality of life were having someone to take turn to care for the patients, understanding among husband and wife, economic stability and adequate resources to borrow money. Community nurse practitioners and related health personnel are able to use the results of this study to enhance quality of life of palliative patients’ caregivers. Keywords: Quality of life1, palliative patients’ caregivers2, mixed methods research3 บทนำ ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการรักษา โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยมาใช้ในการดูแลรักษาทำได้เพียงเพื่อยืดระยะเวลาการมีชีวิตอยู่ของผู้ป่วยให้ยาวนานขึ้น(อาริยา สอนบุญและขนิษฐา นันทบุตร , 2559) ส่งผลให้ปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นปัจจุบันพบว่าสาเหตุการเจ็บป่วยมีแนวโน้มเปลี่ยนจากโรคติดต่อเป็นโรคไม่ติดต่อที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มโรคมะเร็งและหลอดเลือด โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นโรคที่ต้องมีการดูแลแบบประคับประคองอย่างใกล้ชิดในระยะยาวต้องพึ่งพาเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงในการพยุงชีวิต เนื่องจากสภาพการเจ็บป่วยมีปัญหาที่ซับซ้อนและมีอาการแทรกซ้อนของโรคการพยากรณ์โรคไม่ดี เข้าสู่ระยะลุกลามไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และกลายไปเป็นผู้ป่วยประคับประคอง (กรมการแพทย์, 2557) จากสถิติขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2552 พบว่าประมาณร้อยละ 63 ของการเสียชีวิตทั่วโลกเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลกในปีพ.ศ 2555 พบว่า 1 ใน 10 ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และ 1 ใน 3 มีภาวะความดันโลหิตสูง ยังพบว่ากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรถึง 38 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละปี หรือคิด เป็นร้อยละ 68 ของการเสียชีวิตของประชากรโลกทั้งหมดใน พ.ศ. 2555 (สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, 2558)สำหรับสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทยพบว่า แนวโน้มการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น จากรายงานสถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2557 พบว่าอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่สำคัญ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองใหญ่หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคเบาหวาน พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกโรคอย่างต่อเนื่องดังนี้ โรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นจาก 1,025.44 ต่อประชากรแสนคน เป็น 1,561.42 ต่อประชากรแสนคน โรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้นจาก 328.63 ต่อประชากรแสนคน เป็น 407.69 ต่อประชากรแสนคน โรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นจาก 255.85 ต่อประชากรแสนคน เป็น 352.30 ต่อประชากรแสนคน และโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจาก 795.04 ต่อประชากรแสนคน เป็น 1,032.50 ต่อประชากรแสนคน (สำนักโรคไม่ติดต่อ, 2558) สำหรับสถานการณ์ของจังหวัดนครราชสีมาพบว่า โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานเป็นโรค 1ใน 10 ของสาเหตุการเจ็บป่วย โดยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.54 ในปี พ.ศ. 2554 เป็นร้อยละ12.80 ในปี พ.ศ. 2558 โรคเบาหวานเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.80 ในปี พ.ศ. 2554 เป็นร้อยละ 8.77 ในปี พ.ศ. 2558 สำหรับสถิติผู้ป่วยประคับประคองของประเทศไทยพบข้อมูลรายงานผู้ป่วยประคับประคองมีจำนวนดังนี้ ปี พ.ศ. 2557 –พ.ศ. 2559 จำนวน 5,820 , 7,047 , 8,209 คน ตามลำดับ (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2559) สำหรับสถานการณ์ผู้ป่วยประคับประคองของจังหวัดนครราชสีมาพบว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559- พ.ศ.2560 ร้อยละ 4.93 และร้อยละ 30.97 ตามลำดับ ซึ่งจะมีอำเภอที่มีจำนวนผู้ป่วยประคับประคองจำนวนมาก 5 อันดับแรก ได้แก่ อำเภอด่านขุนทด อำเภอโนนสูง อำเภอสูงเนิน อำเภอเมืองนครราชสีมาและอำเภอโชคชัยร้อยละ 14.01, 8.92, 7.38, 6.95และร้อยละ6.23 ตามลำดับ (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา , 2560) จากข้อมูลที่กล่าวมาจำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะที่เตียงในโรงพยาบาลมีอย่างจำกัดดังนั้นโรงพยาบาลจึงไม่สามารถรับผู้ป่วยเหล่านี้ไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลได้อย่างทั่วถึงผู้ป่วยประคับประคองจึงจำเป็นต้องกลับไปดูแลต่อเนื่องที่บ้าน การดูแลต่อเนื่องที่บ้านผู้ดูแลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ หากผู้ดูแลมีความพร้อมที่จะให้การดูแลผู้ป่วยและดูแลสุขภาพตนเองได้ดี จะเกิดผลดีกับผู้ป่วยและผู้ดูแลเองผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยคือ ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนและภาวะกำเริบของโรคลดการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลผู้ดูแลเองก็มีความสุขเช่นกัน (สายพิณ เกษมกิจวัฒนาและปิยะภรณ์ ไพรสนธิ์, 2557) แต่ในทางกลับกันหากผู้ดูแลไม่มีความพร้อมที่จะให้การดูแลผู้ป่วยผลที่จะเกิดกับผู้ป่วยทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและภาวะกำเริบของโรคและยังส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเปลี่ยนแปลงไป(Synder et al., 1991) ซึ่งผู้ดูแลมีบทบาทที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยทั้งการดูแลความบกพร่องทางด้านร่างกาย การดูแลเฉพาะโรค การดูแลผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา(ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, 2539) หากขาดผู้ดูแลส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนและการกำเริบของโรคได้พบว่าผู้ป่วยที่ขาดยาส่วนใหญ่ไม่มีผู้ดูแล (จิรวรรณ พึ่งสกุล, 2548) และยังพบว่าผู้ดูแลที่ไม่มีความพร้อมหรือไม่สามารถปรับตัวกับบทบาทของผู้ดูแลได้เกิดความเครียด ไม่มั่นใจที่จะดูแลส่งผลให้คุณภาพการดูแลไม่ดี และผู้ป่วยอาจมีอาการข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนได้ (สินีนุช ขำดีและคณะ, 2557) จากการศึกษาผลกระทบของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังพบว่าผู้ดูแลต้องรับบทบาทในการดูแลผู้ป่วยในการดูแลทำกิจกรรมให้ผู้ป่วยทุกอย่างเนื่องจากผู้ป่วยมีปัญหาที่ซับซ้อน ต้องใช้ระยะในการดูแลที่ยาวนาน (ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม, 2539) จึงส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในทุกด้านพบผู้ดูแลจะมีอาการเหนื่อยล้า ปวดเมื่อยตามตัว พักผ่อนไม่เพียงพอ รู้สึกเครียด ท้อแท้ การเข้าร่วมกิจกรรมกับสังคมลดลง ต้องลาออกจากงานเพื่อมาดูแลผู้ป่วย เกิดการกู้ยืมเงินเพื่อใช้จ่าย ความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตต่ำลง (สายพิณ เกษมกิจวัฒนาและปิยะภรณ์ ไพรสนธิ์, 2557; Allison, et al. 2008; Mellon, 2002) จากที่กล่าวมาพบว่าคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลมีการเปลี่ยนแปลงและจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลส่วนใหญ่พบการศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเอดส์และโรคอัลไซเมอร์ซึ่งเป็นการศึกษาในบริบทของโรงพยาบาล (เฟื่องฟ้า, 2550; ปราณี สุทธิสุคนธ์, 2553; วรรณกานต์ ประโพธิ์ทังและคณะ, 2559; นมิตา ลอสกุล, 2544; นิชภา โมราถบ, 2557)ส่วนการศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองในชุมชนยังมีอยู่อย่างจำกัดดังนั้นเพื่อให้ทราบถึงคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองผู้วิจัยจึงได้สนใจศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองด้านสุขภาพกาย ด้านสุขภาพจิต ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาความต้องการต่างๆเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตจากข้อคิดเห็นของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองนำความรู้ที่ได้ไปวางแผนในการปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและกำหนดนโยบายแล้วยังเป็นแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง เพื่อศึกษาปัญหาที่ทำให้ผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองมีคุณภาพชีวิตระดับต่ำ-ปานกลาง เพื่อวิเคราะห์ความต้องการในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง วิธีการวิจัย การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี(mixed methods research) ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย (explanatory sequential design) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณด้วยคำถามปลายปิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองเป็นหลักก่อน และต่อด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพที่เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกในส่วนปัญหาและความต้องการในการสร้างเสริมสุขภาพคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองเพื่อช่วยในการอธิบายผลให้กระจ่างยิ่งขึ้น ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ พ่อ แม่ สามี ภรรยา บุตร ญาติ ที่ให้การดูแลผู้ป่วยประคับประคองที่บ้านในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ เป็นหลัก ใช้เวลาอยู่กับผู้ป่วยมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2560 – เดือนเมษายน 2561 จากเอกสารทะเบียนผู้ป่วยประคับประคองในพื้นที่ 5 อำเภอที่ดำเนินการวิจัยมีจำนวนทั้งหมด 1,040 คนกลุ่มตัวอย่างสำหรับการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจำนวน 511 คนจากการสุ่มอย่างง่ายและกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพจำนวน 10 คนจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องที่ใช้ในการทำวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แบบสอบถามและแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างชัดเจน ประกอบด้วยข้อมูล 2ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง ส่วนที่ 2 คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง โดยสร้างเป็นข้อคำถามครอบคลุม 4 ด้านตาม WHOQOL-BREF-THAI จำนวน 31 ข้อการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) นำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านค่า IOC=0.90 การตรวจสอบความเชื่อมั่น (Reliability)ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา 0.85 และแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกกำหนดประเด็นและแนวทางคำถามหลักของการสัมภาษณ์คือ ปัญหาและความต้องการในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตในด้านสุขภาพกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคมและด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองเป็นอย่างไร การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลจากเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงบรรยาย ข้อมูลทั่วไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงค่าความถี่ และค่าร้อยละ ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis) สรุปและอภิปรายผล 1.ข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง 1.1 ข้อมูลทั่วไป จากการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองจากกลุ่มตัวอย่างผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองจำนวน 511 คน พบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 416 คน คิดเป็นร้อยละ 81.4 อายุเฉลี่ย 50-59 ปี มากที่สุดจำนวน 166 คนคิดเป็นร้อยละ 32.5 อายุน้อยที่สุด 21 ปี อายุมากที่สุด 82 ปี อายุเฉลี่ย 51.4 ปี (S.D.= 11.17 ) สถานภาพการสมรสส่วนใหญ่สถานภาพคู่ จำนวน 413 คน คิดเป็นร้อยละ 80.82 จบการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด จำนวน 341 คน คิดเป็นร้อยละ 66.7 ผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองส่วนใหญ่เป็นคู่สมรสจำนวน 316 คนคิดเป็นร้อยละ 61.83 จำนวนสมาชิกในครอบครัวส่วนใหญ่ 1-5 คน จำนวน 434 คน คิดเป็นร้อยละ 84.9 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.1 คน (S.D.=1.47 ) อาชีพหลักคือการเกษตรกรรม จำนวน 369คน คิดเป็นร้อยละ 72.2 รายละเอียดดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองจำแนกตามข้อมูลทั่วไป (n=511) ข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง(511) จำนวน(คน) ร้อยละ เพศ หญิง 416 81.4 อายุ 50-59 ปี 166 32.5 x ̅=51.4,S.D.=11.17,Min=21 , Max=82 ตารางที่ 1 จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองจำแนกตามข้อมูลทั่วไป (n=511) (ต่อ) ข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง(511) จำนวน(คน) ร้อยละ สถานภาพสมรส คู่ 413 80.8 การศึกษา ประถมศึกษา 341 66.7 สถานะในครอบครัว คู่สมรส 316 61.8 จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 1-5 คน 434 84.9 x ̅ =4.16 , S.D.=1.47 , Min=2 , Max=10 อาชีพหลัก เกษตรกรรม 369 72.2 1.2 ข้อมูลทั่วไปด้านเศรษฐกิจ ผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองส่วนใหญ่มีรายได้ครัวเรือนต่อปี 50,001-100,000 บาท จำนวน 180 คน คิดเป็นร้อยละ 35.2 มีรายได้ครัวเรือนต่อปีเฉลี่ย 106,899.41 บาท (S.D.= 69093.82) มีรายจ่ายครัวเรือนต่อเดือน5,001-10,000 บาท มากที่สุด จำนวน 240 คน คิดเป็นร้อยละ 47.0 มีรายจ่ายครัวเรือนต่อเดือนโดยเฉลี่ย 6,917.77 บาท (S.D.= 3611.63) ผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองส่วนใหญ่มีรายได้เพียงพอกับรายจ่ายแต่ไม่เหลือเก็บ จำนวน 268 คนคิดเป็นร้อยละ 52.4 ซึ่งผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายส่วนใหญ่กู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 48.4 รายละเอียดดังในตารางที่ 2 ตารางที่ 2 จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง จำแนกตามข้อมูลทั่วไปด้านเศรษฐกิจ (N=511) ข้อมูลทั่วไปด้านเศรษฐกิจ กลุ่มตัวอย่าง(511) จำนวน(คน) ร้อยละ รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน (บาท/ปี) 50,001-100,000 180 35.2 x ̅ =106,899.41 , S.D.=69,093.82 , Min= 10,000 ,Max=400,000 รายจ่ายเฉลี่ยของครัวเรือน (บาท/เดือน ) 5,001-10,000 240 47.0 x ̅ =6917.77 , S.D.=3611.63 , Min=1,000, Max= 28,000 ความเพียงพอของรายได้กับรายจ่าย เพียงพอ ไม่มีเงินเหลือเก็บ 268 52.4 แหล่งกู้ยืมเงิน (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 62 48.4 ข้อมูลทั่วไปด้านโรคประจำตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง ผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว จำนวน 377 คน คิดเป็นร้อยละ73.8โรคประจำตัวพบมากที่สุดคือโรคเบาหวานจำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 55.9 ระยะเวลาในการเป็นโรคประจำตัวส่วนใหญ่น้อยกว่า 10 ปี จานวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 46.2 การดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคประจำตัวผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองส่วนใหญ่ จำนวน 130 คน คิดเป็นร้อยละ 97.0 จะพบแพทย์และรับยาประจำ รายละเอียดดังในตารางที่ 3 ตารางที่ 3 จำนวน ร้อยละ ของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองจำแนกตามข้อมูลการมีโรคประจำตัว(n=511) ข้อมูลโรคประจำตัว กลุ่มตัวอย่าง(511) จำนวน(คน) ร้อยละ การมีโรคประจำตัว ไม่มี 377 73.8 ตารางที่ 3 จำนวน ร้อยละ ของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองจำแนกตามข้อมูลการมีโรคประจำตัว (n=511) (ต่อ) ข้อมูลโรคประจำตัว กลุ่มตัวอย่าง(511) จำนวน(คน) ร้อยละ โรคประจำตัวที่เป็น (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ) โรคเบาหวาน 75 55.9 ระยะเวลาที่เป็นโรคประจำตัว < 10 ปี 62 46.2 การดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคประจำตัว พบแพทย์รับยาประจำ 130 97.0 1.4 ข้อมูลทั่วไปด้านการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง ผู้ป่วยประคับประคองส่วนใหญ่ที่ผู้ดูแลให้การดูแลป่วยด้วยโรคอัมพาตหลอดเลือดสมองจำนวน 165 คน คิดเป็นร้อยละ 32.3 ระยะเวลาที่ผู้ดูแลให้การดูแลผู้ป่วยประคับประคองส่วนใหญ่มากกว่า 1 ปีขึ้นไปจำนวน 407 คนคิดเป็นร้อยละ 79.6 กิจกรรมที่ผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองให้การดูแลส่วนใหญ่เป็นการดูแลกิจวัตรประจำวันทั้งหมด (การรับประทาน อาหาร ความสะอาดร่างกาย การขับถ่าย การนอน หลับ การเคลื่อนไหว) จำนวน 455 คนคิดเป็นร้อยละ89.0 เจ็บป่วยที่เกิดจากให้การดูแลผู้ป่วยประคับประคองในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาผู้ดูแลส่วนใหญ่มีอาการปวดศีรษะจำนวน 211 คิดเป็นร้อยละ 41.3 การดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยส่วนใหญ่ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 360 คนคิดเป็นร้อยละ 70.5 รายละเอียดดังในตารางที่ 4 ตารางที่ 4 จำนวน ร้อยละของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองจำแนกตามข้อมูลทั่วไปด้านการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง (n=511) ข้อมูลทั่วไปด้านการดูแลผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่าง(511) จำนวน ร้อยละ การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังดังต่อไปนี้ (ตอบได้มากกว่า 1ข้อ) โรคอัมพาตหลอดเลือดสมอง 165 32.3 ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วย 7-12 เดือน 82 16.0 >1 ปีขึ้นไป 407 79.6 ตารางที่ 4 จำนวน ร้อยละของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองจำแนกตามข้อมูลทั่วไปด้านการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง (n=511) (ต่อ) ข้อมูลทั่วไปด้านการดูแลผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่าง(511) จำนวน ร้อยละ กิจกรรมที่ให้การดูแลผู้ป่วย (ตอบได้มากกว่า 1ข้อ) การดูแลกิจวัตรประจำวันทั้งหมด 455 89.0 การเจ็บป่วยในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาที่เกิดจากการดูแลผู้ป่วย (ตอบได้มากกว่า 1ข้อ) ปวดศีรษะ 211 41.3 การดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย (ตอบได้มากกว่า 1ข้อ) ไปโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 360 70.5 ข้อมูลทั่วไปด้านการได้รับข่าวสารต่างๆที่มีความสำคัญต่อการให้การดูแลผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองจำนวน 511 คน คิดเป็นร้อยละ 99.4 ได้รับข่าวสารต่าง ๆที่มีความสำคัญต่อการให้การดูแลผู้ป่วยมากที่สุดจากโทรทัศน์ จำนวน 308 คน คิดเป็นร้อยละ 60.3 รายละเอียดดังในตารางที่ 5 ตารางที่ 5 จำนวน ร้อยละของผู้ดูแลผู้ป่วยป่วยประคับประคองจำแนกตามข้อมูลการได้รับข่าวสารต่างๆที่มีความสำคัญต่อการให้การดูแลผู้ป่วย (n=511) การได้รับข่าวสารต่าง ๆ กลุ่มตัวอย่าง(511) จำนวน ร้อยละ ได้รับ 508 99.4 แหล่งข่าวสารต่าง ๆ (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ) โทรทัศน์ 308 60.3 1.5 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ 1.5.1 ข้อมูลทั่วไป จากการศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองจากกลุ่มตัวอย่างผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองจำนวน 10 คน พบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 90 อายุเฉลี่ย 50-59 ปี มากที่สุดจำนวน 5 คนคิดเป็นร้อยละ 50 อายุน้อยที่สุด 28 ปี อายุมากที่สุด 59 ปี อายุเฉลี่ย 46.9 ปี (S.D.= 11.17 ) สถานภาพการสมรสส่วนใหญ่สถานภาพคู่ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 90 จบการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 90 ผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองส่วนใหญ่เป็นคู่สมรสจำนวน 6 คนคิดเป็นร้อยละ 60 จำนวนสมาชิกในครอบครัวส่วนใหญ่ 1-5 คน จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 100 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน (S.D.=1.47 ) อาชีพหลักคือการเกษตรกรรม จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 90 รายละเอียดดังตารางที่ 6 ตารางที่ 6 จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองจำแนกตามข้อมูลทั่วไป (n=10) ข้อมูลทั่วไป กลุ่มตัวอย่าง(10) จำนวน(คน) ร้อยละ เพศ หญิง 9 90 อายุ 50-59 ปี 5 50 x ̅=46.9,S.D.=11.17,Min=28 , Max=59 สถานภาพสมรส คู่ 9 90 การศึกษา ประถมศึกษา 9 90 สถานะในครอบครัว คู่สมรส 6 60 จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 1-5 คน 10 100 x ̅ =3 , S.D.=1.47 , Min=2 , Max=5 อาชีพหลัก เกษตรกรรม 9 90 ข้อมูลทั่วไปด้านโรคประจำตัวของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง ผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ90โรคประจำตัวพบคือโรคเบาหวานจำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 10 ระยะเวลาในการเป็นโรคประจำตัวส่วนใหญ่น้อยกว่า 10 ปี จานวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 100 การดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคประจำตัวผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองส่วนใหญ่ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 100 จะพบแพทย์และรับยาประจำ ตามตารางที่ 7 ตารางที่ 7 จำนวน ร้อยละ ของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองจำแนกตามข้อมูลการมีโรคประจำตัว(n=10) ข้อมูลโรคประจำตัว กลุ่มตัวอย่าง(10) จำนวน(คน) ร้อยละ การมีโรคประจำตัว มี 1 10 ไม่มี 9 90 โรคประจำตัวที่เป็น (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ) โรคเบาหวาน 1 100 ระยะเวลาที่เป็นโรคประจำตัว < 10 ปี 1 100 การดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคประจำตัว พบแพทย์รับยาประจำ 1 100 2. ข้อมูลคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง ข้อมูลคุณภาพชีวิตในภาพรวม ผลการศึกษา พบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองมีคุณภาพชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅ =3.52, S.D. =0.35 ) พิจารณาคุณภาพชีวิตรายด้านพบว่า คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดีจำนวน 1 ด้านและคุณภาพชีวิตระดับปานกลางจำนวน 3 ด้าน คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี ได้แก่ คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม (x ̅= 3.78, S.D.=0.42) คุณภาพชีวิตระดับปานกลาง ได้แก่ คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย (x ̅= 3.21, S.D.= 0.40) คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจิต (x ̅=3.42, S.D.= 0.43) และคุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคม(x ̅ =3.67 , S.D.= 0.51)รายละเอียดดังในตารางที่ 8 ตารางที่ 8 ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองจำแนกตามคุณภาพชีวิตในภาพรวม (n=511) คุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองภาพรวม x ̅ S.D. การแปลผล คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย 3.21 0.40 ปานกลาง คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจิต 3.42 0.43 ปานกลาง คุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคม 3.67 0.51 ปานกลาง คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม 3.78 0.42 ดี รวม 3.52 0.35 ปานกลาง ปัญหาที่ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองมีคุณภาพชีวิตปานกลาง ด้านสุขภาพกาย การเจ็บป่วยที่เกิดจากการดูแลผู้ป่วย การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ การรับประทานอาหารไม่เพียงพอครบ 5 หมู่ ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม ด้านสุขภาพจิต ความเครียด วิตกกังวล ด้านสัมพันธภาพทางสังคม การทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนลดลง ชีวิตทางเพศสัมพันธ์ลดลง ด้านสิ่งแวดล้อม รายได้ไม่เพียงพอ แหล่งกู้ยืมเงินในยามฉุกเฉินไม่เพียงพอ ความต้องการในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง ต้องการผู้ผลัดเปลี่ยนช่วยในการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง การดูแลสุขภาพตนเอง ความเข้าใจจากสมาชิกในครอบครัวที่จะช่วยให้คำปรึกษาพูดคุยและต้องการรายได้และแหล่งกู้ยืมเงิน การอภิปรายผลการศึกษา ข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง จากการศึกษาคล้ายกับวรรณกานต์ ประโพธิทังและคณะ(2559)และเฟื่องฟ้าสีสวย (2550)พบว่าผู้ดูแลส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อายุ สถานภาพสมรสคู่ มีอายุ 40-60 ปี และเนื่องจากการศึกษาในครั้งนี้ทำการศึกษาในจังหวัดนครราชสีมาตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีวัฒนธรรมในครอบครัวโดยเพศหญิงจะถูกอบรมเลี้ยงดูให้ดูแลงานบ้านและสมาชิกใน (เฟื่องฟ้า สีสวย, 2550; Lubkin& Payne, 1998) นอกจากนี้ผู้ดูแลมีอายุอยู่ในช่วงวัยกลางคนเป็นวัยที่มีความรับผิดชอบสูงทั้งด้านสังคม หน้าที่และด้านครอบครัว ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นคู่สมรสซึ่งบริบทของครอบครัวไทยหลังแต่งงานเป็นครอบครัว (ยุพาพิน ศิรโพธิงาม, 2539) ด้านการเจ็บป่วยของผู้ดูแลการศึกษาครั้งนี้ยังพบว่าผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองส่วนใหญ่เกิดการเจ็บป่วยที่เกิดจากการดูแลผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะปวดหลังสอดคล้องกับกรรณิการ์ รักยิ่งเจริญ(2557) ข้อมูลคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองอยู่ในระดับปานกลางซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมองที่อยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน 5.3 ปัญหาที่ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองมีคุณภาพชีวิตปานกลาง จากผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองมีการเจ็บป่วยที่พบมากที่สุด ได้แก่ อาการปวดศีรษะร้อยละ 41.3 ปวดหลังร้อยละ 32.9 ปวดเอวร้อยละ30.3 สอคล้องกับการศึกษาของวรรณกานต์ ประโพธิทัง และคณะ(2559) เนื่องจากกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยประคับประคองส่วนใหญ่ต้องใช้แรงเพื่อพลิกตะแคงตัว อุ้มผู้ป่วย ยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในทุกๆวันส่งผลทำให้ผู้ดูแลเกิดอาการเหนื่อยล้าและเกิดการเจ็บป่วย ผู้ดูแลมีอาการซึมเศร้าร้อยละ 2.0 มีความเครียด วิตกกังวลจากการดูแลผู้ป่วยสอดคล้องกับการศึกษาของกรรณิการ์ รักยิ่งเจริญ( 2557) เนื่องจากผลกระทบเมื่อต้องรับบทบาทเป็นผู้ดูแลผู้ป่วย เครียด วิตกกังวลจากอาการที่เปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองร่วมกิจกรรมกับชุมชนลดลงและการมีเพศสัมพันธ์หรือการมีสัมพันธภาพในครอบครัวก็ลดลงเช่นกันคล้ายกับการศึกษาของ สายพิณ เกษมกิจวัฒนาและปิยะภรณ์ ไพรสนธิ์(2557)เนื่องจากผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองต้องดูแลผู้ป่วยตลอดเวลา ไม่มีเวลาที่จะออกไปทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน รายได้ของผู้ดูแลไม่เพียงพอ ต้องกู้ยืมเงิน แต่แหล่งกู้ยืมมีไม่เพียงพอสอดคล้องกับการศึกษาของสายพิณ เกษมกิจวัฒนาและปิยะภรณ์ ไพรสนธิ์(2557) เนื่องจากผู้ดูแลต้องรับภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวทั้งหมดต้องลาออกจากงานขาดรายได้ ข้อเสนอแนะ ด้านการปฏิบัติการพยาบาลชุมชน ด้านการวางแผนและนโยบาย จัดทำแผนรวมกลุ่มในชุมชนเพื่อสร้างอาชีพให้แก่กลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองให้มีรายได้ในระหว่างที่ให้การดูแลผู้ป่วย วางแผนจัดทำงบประมาณสำหรับอบรมผู้ดูแลผู้ป่วยในชุมชนมาช่วยผลัดเปลี่ยนการดูแลผู้ป่วย ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป ควรนำผลของการศึกษาไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในวางแผนพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองต่อไป ควรศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง กิตติกรรมประกาศ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เสร็จสมบูรณ์ได้ด้วยความกรุณาของบุคคลผู้มีพระคุณหลาย ๆ ท่านขอขอบคุณอย่างยิ่งต่อความร่วมมือจากผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคองที่ช่วยเสียสละเวลาในการตอบแบบสอบถามและให้ความร่วมมือในการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยความเต็มใจและยินดี ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ศาสตราจารย์ ดร. เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร และผู้ช่วยศาสตราจารย์วิย์ ชมนิรัตน์ ประธานกรรมการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ เพชรไสว ลิ้มตระกูล และผู้ทรงคุณวุฒิกรรมการสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ รองศาสตราจารย์ ดร. พนิษฐา พานิชชาชีวะกุล ที่กรุณาเสียสละเวลาให้คำแนะนำข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการปรับปรุงวิทยานิพนธ์ให้สำเร็จด้วยดี ขอกราบขอบพระคุณในความกรุณาของคุณพ่อคุณแม่ผู้มีพระคุณยิ่งขอขอบคุณในความช่วยเหลือของเพื่อนๆ เพื่อนร่วมงานและคู่คิดที่รักที่ทำให้การศึกษานี้สำเร็จด้วยดี เอกสารอ้างอิง กรรณิกา รักยิ่งเจริญ. (2557). การปรับตัวของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 25(1), 90-98. กรมการแพทย์. (2559). List disease of Palliative care and Functional unit. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2560, จาก http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/cpgcorner/cpgcorner26122559.pdf กิตติกร นิลมานัต. (2555). การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์. กุลิสรา พิศาลเอก. (2557). คุณภาพชีวิตผู้ดูแลเด็กออทิสติก จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการระบาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์. (บรรณาธิการ) . (2559). คู่มือการพยาบาลแบบประคับประคองฉบับพกพา. เชียงใหม่: Good Work Media. ฐิติมา โพธิศรี. (2550). การดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิต: จาก โรงพยาบาลสู่บ้าน. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. นมิตา ล. สกุล. (2544). ภาระและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยเอดส์. วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. นิชภา โมราถบ. (2557). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลที่เป็นสมาชิกในครอบครัวผู้สูงอายุอัลไซ เมอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร. นิลวรรณ นิมมานวรวงศ์ และดาริน จตุรภัทรพร. (2553). Palliative Performance Scale เครื่องมือประเมินคนไข้ Palliative Care. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว. 5(2), สิงหาคม-ตุลาคม: 21-25. บังอร ไทรเกตุ. (2556). คู่มือสำหรับประชาชน การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care) . นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). บุษยามาส ชีวสกุลยง. (บรรณาธิการ). (2556). การดูแลแบบประคับประคอง Palliative care. เชียงใหม่: บริษัทกลางเวียงการพิมพ์ จำกัด. เฟื่องฟ้า สีสวย. (2550). คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รุ่งนภา จันทรา. (2552). คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลเด็กออทิสติก. สุราษฎร์ธานี: วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี กระทรวงสาธารณสุข. วรรณกานต์ ประโพธิ์ทัง และคณะ.(2559). คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาตัวในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี. วารสารกรมการแพทย์, 41(1), 126-131. ศิรินันท์ กิตติสุขสถิตและคณะ (2557). คุณภาพชีวิต การทำงานและความสุข พิมพ์ครั้งที่ 2 . นนทบุรี: บริษัท อัพทรูยู ครีเอท นิว จำกัด. ศุภลักษณ์ เอกอุเวชกุล. (2556). การพัฒนาการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน เครือข่ายปฐมภูมิ โรงพยาบาลขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. (2557). การทบทวนวรรณกรรม สถานการณ์ ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2560 จาก, http://203.157.39.7/imrta/images/doc20141107.pdf สถาพร ลีลานันทกิจ. (2551). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาแบบประคับประครอง. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลสงฆ์. สายพิณ เกษมกิจวัฒนาและ ปิยะภรณ์ ไพรสนธิ์. (2557). ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง: กลุ่มเสี่ยงที่ไม่ ควรมองข้าม. วารสารสภาการพยาบาล, 29(4), 22-31. สุวคนธ์ กุรัตน์, พัชรี ภาระโขและสุวิริยา สุวรรณโคตร.(2556). การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย : มิติใหม่ที่ท้าทายบทบาทของพยาบาล. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2560 จาก, http://www.smnc.ac.th/group/research/images/stories/end%20of%20life.pdf สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล. (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับ ภาษาไทย. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2560 จาก, https://www.dmh.go.th/test/whoqol/ สำนักการพยาบาล. (2559). ระบบบริการพยาบาลแบบประคับประคอง. สำนักพิมพ์สื่อตะวันจำกัด. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). รายงานสถิติจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2560 จาก, http://nkrat.nso.go.th/index.php?option=com_content&view= category&id=102&Itemid=507 สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). รายงานสถิติจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2560 จาก, http://nkrat.nso.go.th/index.php?option=com_content&view= category&id=102&Itemid=507 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2560). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบ ประคับประคอง (Palliative care) ที่บ้านและชุมชนในบทบาทของ (สปสช). สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2560, จาก https://www.nhso.go.th/FrontEnd/NewsInformationDetail. aspx?newsid=MjI0OA== สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. (2560). รายงานการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ปี 2558-2560. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2560, จาก https://www.thaicarecloud.org/ สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2558). รายงานประจำปี 2555: Annual Report 2015. กรมควบคุมโรคกระทรวง สาธารณสุข กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกใน พระบรมราชูปถัมภ์. สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2559). รายงานประจำปี 2559: Annual Report 2016. กรมควบคุมโรคกระทรวง สาธารณสุข กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกใน พระบรมราชูปถัมภ์. เสาวลักษณ์ ยาสุวรรณ. (2545). คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. การค้นคว้าแบบ อิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. อนุสรณ์ แน่นอุดร, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์& พรนภา หอมสินธุ์. (2559). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีปัญหาด้านการสื่อสาร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 30(1), 48-60. อาริยา สอนบุญ & ขนิษฐา นันทบุตร. (2559). ระบบการดูแลสุขภาพชุมชนสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายในบริบทอีสาน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 34(1), 122-132. องอาจ นัยพัฒน์. (2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และ สังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. _______. (2557). แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. [ม.ป.พ.]. Anderson. (2006). Palliative Performance Scale version 2. Medical Care of the Dying, 4th ed.; p. 121. Victoria Hospice Society. Berg, D.( 2002). The hidden client’ women caring for husband with COPD: Their experience of quality of life. J Clin Nurs. 11(5), 613-21. Cummins, R.A. (1997). Complehensive Quality of life scale – Adult fifth edition (ComQol-A5). Melbourne: School of Psychology Deakin University. Ferrans, C.E. (1990). Development of quality of life index. Oncology Nursing Forum, 17, 15. Maslow, A. (1962. Toward a Psychology of Being. In Ventegodt, S., Merrick, J., & Anderson, N.J. (2003). Quality of Life Theory III. Maslow Revisited. The Scientific world journal, 3, 1050-1057. Mellon S. (2002). Comparison between cancer survivors and family members on meaning of the illness and family quality of life. Oncol Nurs Forum, 29(1), 7-25. Watson, J.(1999). Nursing: Human Science and Human Care. A Theory of Nursing. Boston: National League for Nursing Press. World Health Organization. (1999). Measuring Quality of Life, 1999. Retrieved December 15, 2017, from http://www.who.int/healthinfo/survey/whoqol-qualityoflife/en/  
     คำสำคัญ คุณภาพชีวิต1, ผู้ดูแลผู้ป่วยประคับประคอง2, การวิจัยผสานวิธี3  
ผู้เขียน
595060060-5 น.ส. อรวรรณ พูนศรี [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0