2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 14 กันยายน 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 23 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนและระดับการเป็นองค์การนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ และ 2) องค์ประกอบของภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนส่งผลต่อการเป็นองค์การนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้บริหารโรงเรียนและครูในโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา 35 โรงเรียน จำนวน 356 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่น (reliability) เท่ากับ 0.892 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็วรูปทางสถิติ เพื่อหาค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และการวิเคราะห์องค์ประกอบของภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนส่งผลต่อการเป็นองค์การนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 5 ด้าน ได้แก่ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการวิจัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงและเหมาะสมกับบริบท การใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการและการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ การเรียนรู้เป็นทีม การบูรณาการทางความคิด ความยืดหยุ่นทางความคิด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และความคิดสร้างสรรค์ รองลงมา คือ การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองและการวิจัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงและเหมาะสมกับบริบท และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ความยืดหยุ่นทางความคิด ตามลำดับ ระดับการเป็นองค์การนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ โครงสร้างองค์การแบบยืดหยุ่น รองลงมา ได้แก่ กลยุทธ์เชิงนวัตกรรม และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ การสื่อสารและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และทีมนวัตกร ตามลำดับ 2. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนส่งผลต่อการเป็นองค์การนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เท่ากับ 89.832 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 72 ค่านัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.0759 นั่นคือ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ /df เท่ากับ 1.247 ค่าดัชนีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.040 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.994 และค่าดัชนีตรวจสอบความกลมกลืน (TLI) เท่ากับ 0.991 ซึ่งแสดงว่าโมเดลสอดคล้องกลมกลืนดี องค์ประกอบเชิงยืนยันของภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ตั้งแต่ 0.757-0.951 องค์ประกอบเชิงยืนยันของการเป็นองค์การนวัตกรรมมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ตั้งแต่ 0.835-0.930 และภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนส่งผลต่อการเป็นองค์การนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา มีค่าอิทธิพล เท่ากับ 0.874  
     คำสำคัญ ภาวะผู้นำการเรียนรู้, องค์การนวัตกรรม, โรงเรียนมัธยมศึกษา, การวิเคราะห์องค์ประกอบ 
ผู้เขียน
595050123-3 น.ส. ประภาพร หาญสุริย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0