2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินของเกษตรกรกลุ่มเพาะปลูกในจังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 26 กันยายน 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 25 
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ (Analytical research) ศึกษาย้อนหลังแบบ Unmatched case-control study เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินของเกษตรกร โดยศึกษาในเกษตรกรเพาะปลูกในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 300 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา (Case) จำนวน 149 คน และกลุ่มควบคุม (Control) จำนวน 151 คน เก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ และทดสอบสมรรถภาพการได้ยินด้วยเครื่อง Audiometer วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม STATA V.10.0 ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรพหุถดถอยลอจิสติก (Multiple logistic regression) นำเสนอด้วยค่า Adjusted OR (ORadj) ที่ระดับช่วงความเชื่อมั่น 95% และ p-value ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 54.00 เป็นเพศชายคิดเป็นร้อยละ 46.00 อายุเฉลี่ยเท่ากับ 57.75 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 13.54) มีรายได้เฉลี่ยของครอบครัวน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 48.33 โดยพบว่าส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรเพาะปลูกข้าวหรือทำนา ร้อยละ 97.67 มีอายุงานเพาะปลูกมากกว่าหรือเท่ากับ 21 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 70.67 สำหรับอาชีพเสริมหรืออาชีพรองนั้นส่วนใหญ่ไม่เคยทำงานที่สัมผัสเสียงดัง ร้อยละ 77.00 และในกลุ่มที่เคยทำงานอุตสาหกรรมนั้นส่วนใหญ่เป็นงานก่อสร้าง โดยในกลุ่มสูญเสียการได้ยินมีสัดส่วนสูงกว่ากลุ่มไม่สูญเสียการได้ยิน ร้อยละ 23.49 และ 7.95 ตามลำดับ พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่พบสูงสุด 3 อันดับแรก คือ แคะหูด้วยสำลีพันก้านหรืออย่างอื่นเป็นประจำ ปั่นจักรยาน/เล่นสเก็ต/สเก็ตบอร์ด/ขี่มอเตอร์ไซค์โดยไม่ใส่หมวกกันน็อค และเป็นหวัดบ่อยและสั่งน้ำมูกแรง ๆ เป็นประจำ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ (ORadj =11.68 ; 95%CI= 5.46-24.95) รายได้ (ORadj =0.29 ; 95%CI= 0.45-0.60) โรคประจำตัว (ORadj = 4.43 ; 95%CI= 2.02-9.71) การเคยทำงานสัมผัสเสียงดัง (ORadj =8.41 ; 95%CI= 3.34-21.14) และการแคะหูด้วยสำลีพันก้านหรืออย่างอื่นเป็นประจำ (ORadj = 2.45 ; 95%CI= 1.19-5.06) ผลการศึกษานี้ ชี้ให้เห็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินของเกษตรกรกลุ่มเพาะปลูกสามารถนำเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดแนวทางเพื่อการตรวจคัดกรอง การป้องกันและเฝ้าระวังสุขภาพการได้ยินของกลุ่มเกษตรกรเพาะปลูก เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยสูญเสียการได้ยินของเกษตรกรต่อไป 
     คำสำคัญ สูญเสียการได้ยิน สมรรถภาพการได้ยิน เกษตรกร อาชีพ พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม 
ผู้เขียน
595110017-9 น.ส. พิรวรรณ ไชยวงค์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0