2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาระบบการดูแลกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน ของโรงพยาบาลพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 27 กันยายน 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 41 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มุ่งพัฒนาระบบการดูแลกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน ของโรงพยาบาลพัฒนานิคม ด้วยแนวคิดต้นแบบการดูแลโรคเรื้อรังภาคขยาย ผู้ร่วมดำเนิน การวิจัยเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง 47 คน และผู้เกี่ยวข้อง 28 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และสังเกตอย่างมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลวิจัยพบว่า เกิดระบบโครงสร้าง กำหนดบทบาทหน้าที่ และการส่งต่ออย่างชัดเจน เป็นผลให้พบกลุ่มเสี่ยงได้เร็วขึ้น กลุ่มเสี่ยงและแกนนำชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพ มีความรู้เพิ่มขึ้นและปรับพฤติกรรมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง มีการเฝ้าระวังป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน สรุปได้ว่า ความสำเร็จในการพัฒนาระบบการดูแลกลุ่มเสี่ยง ควรเน้นงานเชิงรุก เพื่อสร้างการรับรู้ปัจจัยเสี่ยงให้เกิดความตระหนัก และเสริมพลังด้วยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน Abstract This action research aims at development of community-based care system for stroke risk group at Pattananikom Hospital. The concept of expanded chronic care model was used in the study. Purposive sampling method was used to enroll 47 stroke risk group and 23 people who have been responding health care of the stroke risk group. Data was collected through interviews, focus groups and participatory observations. The general information was analyzed by using descriptive statistics and content analysis for qualitative data. The research found that had the structure system. The roles assignment and transfer are clearly defined. As a result, find the risk groups faster. Risk groups and community leaders have been developed, have the potential to increase knowledge, and continuously adjust their health behaviors. The stroke risk groups and community had surveillance and prevention of stroke better. It can be concluded that success in developing service systems for risk groups should be focused on proactive work. To raise awareness of risk factors for awareness and empowered by the involvement of families and communities.  
     คำสำคัญ คำสำคัญ: การพัฒนาระบบการดูแลกลุ่มเสี่ยง, กลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง, การวิจัยเชิงปฏิบัติการ 
ผู้เขียน
585060020-6 นาง สินีนาฏ ทองสุข [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0