2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การจำแนกธรณีสัณฐานโดยใช้ดัชนีตำแหน่งภูมิประเทศ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (LANDFORM CLASSIFICATION USING TOPOGRAPHIC POSITION INDEX IN NORTHEASTERN REGION OF THAILAND) 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 27 กันยายน 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร สมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) 
     ISBN/ISSN 1513-4261 
     ปีที่ 19 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประยุกต์ใช้ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทำการจำแนกคุณสมบัติของสัณฐานที่ปรากฏจากข้อมูลแบบจำลองความสูงเชิงตัวเลข ความละเอียด 30 เมตร โดยใช้อัลกอริทึมของ Andrew D. Weiss และ Jeff Jenness บนพื้นฐานของดัชนีตำแหน่งภูมิประเทศ (TPI) การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้กริดเซลล์จำนวน 6 กริดเซลล์ (3, 5, 9, 17, 25 และ 33 กริดเซลล์) และชนิดของบริเวณล้อมรอบเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภูมิประเทศสมารถจำแนกได้ 2 แบบ คือ ดัชนีตำแหน่งความลาดชัน และประเภทของธรณีสัณฐาน โดยประเภทของธรณีสัณฐานถูกกำหนดจากการนำค่าดัชนีตำแหน่งภูมิประเทศ 2 ค่า มาทำการซ้อนทับค่ากัน (เช่นค่าบริเวณล้อมรอบขนาด 25 กริดเซลล์ และ 33 กริดเซลล์) และผลของการจำแนกทำให้ได้ การจำแนกตำแน่งความลาดชัน 6 ประเภท การจำแนกธรณีสัณฐานอีก 10 ประเภท ผลการวิจัยพบว่า บริเวณล้อมรอบขนาดเล็กสามารถจำแนกลักษณะสัณฐานที่มีโครงสร้างขนาดเล็กได้ดีกว่าโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น เนินเขาขนาดเล็กในที่ราบ ที่ราบ ที่ราบลุ่ม เป็นต้น ส่วนบริเวณล้อมรอบขนาดใหญ่สามารถจำแนกลักษณะสัณฐานที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ได้ดีกว่าโครงสร้างขนาดเล็ก เช่น ภูเขา ยอดเขา หุบเขา เป็นต้น 
     คำสำคัญ ดัชนีตำแหน่งภูมิประเทศ, การจำแนกธรณีสัณฐาน, แบบจำลองความสูงเชิงเลข, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Topographic position index, Landform classification, Digital elevation model, GIS) 
ผู้เขียน
555020261-5 น.ส. งามพรรณ วงษ์อ่อน [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0