2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเมลิออยโดสิส จังหวัดอุบลราชธานี 
Date of Acceptance 27 September 2018 
Journal
     Title of Journal วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 
     Standard TCI 
     Institute of Journal สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     Volume 26 
     Issue
     Month พฤษภาคม - สิงหาคม
     Year of Publication 2019 
     Page  
     Abstract การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อศึกษาหาความชุกของโรคเมลิออย โดสิส จังหวัดอุบลราชธานี และการวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytical research) แบบ Unmatched case-control study เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเมลิออยโดสิสของผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐ จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 310 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิส 155 ราย และกลุ่มที่ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิส 155 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบคัดลอกข้อมูลจากเวชระเบียนและใช้แบบสัมภาษณ์กับผู้ป่วย ใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายคุณลักษณะของผู้ป่วยเมลิออยโดสิส วิเคราะห์ตัวแปรเดี่ยวทีละคู่ด้วยสถิติ Simple logistic regression วิเคราะห์ความสัมพันธ์หลายตัวแปร ด้วยสถิติ Multiple logistic regression นำเสนอค่า Adjusted odds ratio (ORadj) และ 95% CI ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พบผู้ป่วยเมลิออยโดสิสทั้งสิ้น 629 ราย เสียชีวิต 87 ราย คิดเป็นอัตราความชุกของโรคเมลิออยโดสิส เท่ากับ 29.2 ต่อประชากรแสนคน การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ตัวแปรเชิงเดี่ยว พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเมลิออยโดสิส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศชาย (OR=1.97; 95%CI=1.26-3.10) อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (OR=2.15; 95%CI=1.34-3.47) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (OR=4.70; 95%CI=2.91-7.60) การทำกิจกรรมที่สัมผัสดิน/น้ำโดยตรง (OR=24.37; 95%CI=10.72-55.41) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ตัวแปรเชิงพหุถดถอยลอจิสติก พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเมลิออยโดสิส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การมีโรคเบาหวานเป็นโรคร่วม (ORadj=8.57; 95%CI=3.54-20.76) การมีกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลเปิด (ORadj=6.84; 95%CI=2.55-18.35) มีประวัติการสูบบุหรี่ (ORadj=4.62; 95%CI=1.69-12.56) การสัมผัสกับฝนเป็นประจำ (ORadj=4.14; 95%CI=1.93-8.89) ลักษณะพื้นที่รอบบ้านชื้นแฉะ/มีน้ำขัง (ORadj=3.75; 95%CI=1.71-8.24) การทำกิจกรรมที่สัมผัสดิน/น้ำโดยตรง (ORadj=3.65; 95%CI=1.05-12.63) และการสูดดมละอองของดิน/ฝุ่น (ORadj=2.61; 95%CI=1.05-6.54) จากผลการศึกษา ควรมีการสื่อสารความเสี่ยงในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเมลิออยโดสิส ได้แก่ เกษตรกร ผู้ที่ทำงานในไร่นา ที่ต้องสัมผัสดิน/น้ำเป็นประจำ และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความชุกของโรคสูง ในประเด็นความรู้และการป้องกันโรคเมลิอยโดสิส เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคเมลิออยโดสิสที่เหมาะสม  
     Keyword โรคเมลิออยโดสิส ความชุก 
Author
595110059-3 Miss PASINEE MUANGJAIPHET [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0