2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ถ่านกัมมันต์ประสิทธิภาพสูงจากน้ำยางดำ (High Performance Activated Carbon Produced From Black Liquor) 
Date of Acceptance 28 September 2018 
Journal
     Title of Journal วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     Standard TCI 
     Institute of Journal กองบรรณาธิการ วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     ISBN/ISSN 1906-201x 
     Volume 19 
     Issue
     Month กรกฎาคม-กันยายน
     Year of Publication 2019 
     Page 13 
     Abstract น้ำยางดำเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตกระดาษที่มีลิกนินเป็นองค์ประกอบหลักซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงและเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเป็นถ่านกัมมันต์ ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาวิธีการเตรียมถ่านกัมมันต์จากลิกนินโดยวิธีการกระตุ้นทางเคมีด้วยกรดฟอสฟอริก กระบวนการเตรียมถ่านกัมมันต์จะใช้การกระตุ้นก่อนกระบวนการคาร์บอไนซ์ โดยปัจจัยในการศึกษาคือ ความเข้มข้นของกรดฟอสฟอริก 0-30%โดยปริมาตร เวลาในการกระตุ้น 0-12 ชั่วโมง และอุณหภูมิคาร์บอไนซ์ 400-500oC โดยมีการตรวจสอบหาคุณสมบัติของลิกนินและถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้ ร่วมถึงการทดสอบความสามารถในการเป็นตัวดูดซับสีเมธิลีนบลู พบว่าที่สภาวะความเข้มข้นของกรดฟอสฟอริก 30%โดยปริมาตร ที่เวลาในการกระตุ้น 8 ชั่วโมง อุณหภูมิคาร์บอไนซ์ 500oC เป็นสภาวะการเตรียมถ่านกัมมันต์ให้พื้นที่ผิวสูงสุดที่ 806 m2/g ขนาดรูพรุนเฉลี่ย 2.02 นาโนเมตร ปริมาตรรูพรุนเฉลี่ย 0.41 cm³/g เป็นรูพรุนผสม microporous และ mesoporous และผลการทดสอบประสิทธิภาพการดูดซับเมธิลีนบลู ที่ความเข้มข้น 20-100ppm ของถ่านกัมมันต์ พบว่าสามารถดูดซับได้สูงสุดถึง 100% ภายในเวลา 2 ชั่วโมง ที่ความเข้มข้น 20ppm นอกจากนี้ได้เปรียบเทียบวิธีการเตรียมถ่านกัมมันต์จากลิกนินกับงานวิจัยอื่นๆ พบว่าวิธีการกระตุ้นก่อนคาร์บอไนซ์ให้พื้นที่ผิวและประสิทธิภาพการดูดซับสูง 
     Keyword ถ่านกัมมันต์ ลิกนิน น้ำยางดำ เมธีลีนบลู 
Author
595040071-2 Miss SUTATHIP SIRIPANEE [Main Author]
Engineering Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation false 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0