2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษา วัดในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 2 ตุลาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 35 
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาศักยภาพ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษา วัดในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ วัดศรีเมือง วัดสีสะเกด และพระธาตุหลวง (วัดธาตุหลวง) ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 51 ราย ประกอบด้วย เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส พระภิกษุ เจ้าหน้าที่องค์กรการท่องเที่ยว ผู้รู้เกี่ยวกับประวัติของวัด ผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยวชาวลาวและชาวต่างชาติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แนวทางการสัมภาษณ์เพื่อสัมภาษณ์เจาะลึก การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ แนวทางการสังเกต สมุดบันทึกข้อมูล และกล้องถ่ายภาพ ได้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1. ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวัดในนครหลวงเวียงจันทน์ จุดเด่น พบว่า เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่นครหลวงเวียงจันทน์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด มีสถาปัตยกรรมลาวล้านช้างที่ประณีตงดงาม มีทำเลที่ตั้งเหมาะสม เส้นทางการคมนาคมสะดวก และมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวทำขณะเดินทางมาเยี่ยมชมวัด จุดด้อย พบว่า บางวัดมีพื้นที่คับแคบส่งผลให้ที่จอดรถไม่เพียงพอ บางวัดมีสถานที่กว้างขวางแต่ขาดการดูแลความสะอาด ทั้งยังขาดประสิทธิภาพในการประชาสัมพันธ์ทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง โอกาส พบว่า มีการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยจัดสรรงบประมาณเพื่อบูรณะซ่อมแซมวัด และมีนักท่องเที่ยวจากหลายประเทศทำให้ประเพณีวัฒนธรรมของลาวถูกเผยแพร่อย่างกว้าง อุปสรรค พบว่า มีสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวัด ในนครหลวงเวียงจันทน์ลดลง 2. ปัญหาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวัดในนครหลวงเวียงจันทน์ พบว่า จำหน่ายสินค้าราคาสูงเกินจริง เวลาในการให้บริการค่อนข้างสั้นและปิดทำการเร็ว สินค้าที่ระลึกมีจัดจำหน่ายจำนวนน้อย ไม่หลากหลาย และไม่เป็นสากล สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้แก่ ถังขยะ ห้องสุขา และจุดนั่งพักมีน้อย รวมทั้งขาดการร่วมมือจากคนในพื้นที่ 3. แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประกอบด้วย แนวทางการพัฒนาที่เป็นจุดร่วมที่คล้ายคลึงกัน คือ ปรับปรุงการประชาสัมพันธ์ให้ครอบคลุมและทั่วถึง จัดหามัคคุเทศก์เพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว จัดกิจกรรมทางศาสนาให้หลากหลาย และประชาชนในพื้นที่ควรเข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอแผนโครงการ กิจกรรม หรือ แนวทาง เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยว และแนวทางการพัฒนาตามลักษณะเฉพาะของแต่ละสถานที่ คือ วัดศรีเมือง และวัดสีสะเกด ควรปรับปรุงสถานที่จอดรถให้เพียงพอ และควบคุมราคาสินค้าไม่ให้สูงเกินไป ส่วนพระธาตุหลวง (วัดธาตุหลวง) ควรเข้มงวดเรื่องการรักษาความสะอาด โดยเพิ่มจำนวนถังขยะและปรับปรุงระบบการจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
     คำสำคัญ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วัดในนครหลวงเวียงจันทน์ 
ผู้เขียน
575080108-9 Ms. AMMALA XAYMOUNTY [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0