2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลทันทีของการหดเกร็งกล้ามเนื้อหน้าขาต่อระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในกล้ามเนื้อและขนาดของแรงบิดกล้ามเนื้อ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 17 สิงหาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN
     ปีที่ 30 
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในกล้ามเนื้อหน้าขาในแต่ละช่วงของการหดตัว และศึกษาขนาดความสัมพันธ์ระหว่างระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในกล้ามกับขนาดแรงบิดตัวของกล้ามเนื้อต้นขา วิธีการศึกษา: รูปแบบการศึกษาแบบ Before-After study ในอาสาสมัครสุขภาพดีเพศชายอายุระหว่าง 18-35 ปี จำนวน 26 คน อาสาสมัครทั้งหมดออกแรงสูงสุดเพื่อหดเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาค้าง ไว้ 10 วินาที พัก 5 วินาที จนถึงจุดที่กล้ามเนื้อล้า ผู้วิจัยบันทึกระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในกล้ามเนื้อ Vastus lateralis แบบต่อเนื่องโดยเครื่อง MOXY และบันทึกขนาดแรงบิดของกล้ามเนื้อโดยเครื่อง Fix Electronic Scale ผลการศึกษา: อาสาสมัครสุขภาพดีอายุเฉลี่ย 22.62 ± 2.43 ปี ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในกล้ามเนื้อในช่วงพักเฉลี่ย SmO2rest74.84 ± 10.88, ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในกล้ามเนื้อในช่วงหดเกร็งกล้ามเนื้อสูงสุดของต้นขาเฉลี่ย SmO2highest 22.88 ± 14.35 และขนาดแรงบิดกล้ามเนื้อหน้าขาสูงสุดเฉลี่ย 110.61 ± 28.24 Nm. ผลการศึกษาพบว่าระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในช่วง SmO2highest ลดลงถึง -51.96% มีค่าตั้งแต่ (45.88% - 58.04%) เมื่อเทียบกับระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในช่วง SmO2rest อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบขนาดความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในกล้ามเนื้อช่วง SmO2highest กับขนาดแรงบิดของกล้ามเนื้อต้นขา คือ (r = -0.41, P<0.01) ในขณะที่ในช่วงกล้ามเนื้อล้าไม่พบความสัมพันธ์ สรุป:การหดเกร็งกล้ามเนื้อสูงสุด ส่งผลให้ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในกล้ามเนื้อลดลงทันที และเมื่อขนาดของแรงบิดกล้ามเนื้อลดลง ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในกล้ามเนื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงอาจสามารถสรุปได้ว่าแรงบิดของกล้ามเนื้อมีทิศทางตรงข้ามกับระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในกล้ามเนื้อเฉพาะช่วงขนาดของแรงบิดกล้ามเนื้อสูงสุด จากภาวะอุดกั้นการไหลเวียนของหลอดเลือดฝอย  
     คำสำคัญ การหดเกร็งกล้ามเนื้อ, ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในกล้ามเนื้อ, ขนาดของแรงบิดกล้ามเนื้อ 
ผู้เขียน
595090006-3 นาย วีระพงษ์ สุจริต [ผู้เขียนหลัก]
คณะเทคนิคการแพทย์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0