2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article กลวิธีการลำพื้นวาดขอนแก่นของหมอลำวันดี พลทองสถิตย์Techniques in Khon Kaen Lumpuen Singing Styles: Case Study of Moolum Wandee Poltongsatit. 
Date of Acceptance 26 September 2018 
Journal
     Title of Journal วารสารคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Standard TCI 
     Institute of Journal คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     Volume 11 
     Issue
     Month กรกฎาคม-ธันวาคม
     Year of Publication 2018 
     Page  
     Abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. เพื่อศึกษากลวิธีการลำพื้นของหมอลำวันดี พลทองสถิตย์ 2. เพื่อศึกษากลวิธีในการแสดงของหมอลำวันดี พลทองสถิตย์ จากการศึกษาพบว่า 1)กลวิธีในการใช้เสียงของหมอลำวันดี การฮ่อนเสียงของหมอลำวันดี จะคล้ายกับการเอื้อนแต่จะใช้ลูกคอในการฮ่อนเพื่อนที่จะให้คนฟังประทับใจในเสียงที่ออกมา หรือภาษาอีสานเรียกว่า ออนซอนเสียง โดยหมอลำวันดีจะเลือกตรงที่ฮ่อนเสียงตรงท้ายประโยค ท่อนจบ และกลอนลำที่กล่าวชื่นชมหรือยินดี การเอื้อนเสียงสำหรับหมอลำวันดีคือการยืดเสียงให้ยาว และใส่ลูกเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองเข้าไป เพื่อให้ชอบใจในการเอื้อน การเอื้อนเสียงในแต่ละกลอนลำจะไม่เหมือนกัน และไม่ระบุตายตัวว่าต้องเอื้อนตรงไหน วรรคทีเท่าไหร่ แต่หมอลำวันดีจะดูความเหมาะสมในการที่จะใส่ลูกเอื้อน 2)กลวิธีในการแสดง ในการแสดงแต่ละงานหมอลำวันดีสังเกตคนฟังหรือการอ่านจิตวิทยาของผู้ฟังว่ามีอาการเบื่อในการฟังหมอลำพื้น จึงจำเป็นต้องสอดแทรกทำนองอื่นๆ เข้ามาเพื่อทำให้การแสดงครึกครื้นขึ้นมา รวมไปถึงการพูด กิริยาท่าทาง จะจำให้คนฟังหันกลับมาสนใจในการแสดงอีกครั้ง โดยช่วงหลังๆ หมอลำวันดีจะสอดแทรกทำนองต่างๆมากขึ้นอีก เพื่อเป็นการเอาใจผู้ฟังทุกวัย  
     Keyword กลวิธี , ลำพื้นวาดขอนแก่น 
Author
585220006-0 Miss DUANGRUTAI BOONSINCHAI [Main Author]
Fine and Applied Arts Master's Degree

Reviewing Status ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0