2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article การดำเนินทำนองระนาดเอกในเพลงเรื่องทะแยกลองโยน กรณีศึกษาเอกสารการบันทึกโน้ตเพลงไทยเป็นโน้ตสากล 
Date of Acceptance 1 October 2018 
Journal
     Title of Journal วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Standard TCI 
     Institute of Journal คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     Volume 11 
     Issue
     Month กรกฎาคม-ธันวาคม
     Year of Publication 2019 
     Page  
     Abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างทำนองเพลงเรื่องทะแยกลองโยน วิเคราะห์การดำเนินทำนองระนาดเอกในเพลงเรื่องทะแยกลองโยน กรณีศึกษาเอกสารการบันทึกโน้ตเพลงไทยเป็นโน้ตสากล โดยคณะกรรมการตรวจสอบและบันทึกโน้ตเพลงไทยเป็นโน้ตสากล โดยการวิเคราะห์ต้องอิงกับทำนองหลักควบคู่กันไปตามหลักองค์ประกอบทางดนตรีโดยแบ่งการศึกษาออกเป็นหัวข้อสำคัญดังนี้ 1.กลุ่มเสียง 2.จังหวะ 3.ลีลาสำนวนทำนอง 4.ทิศทางทำนอง ผลการวิจัยพบว่า เพลงทะแยกลองโยนหรือทะแย 7 ท่อน จัดอยู่ในประเภทเพลงเรื่อง และเพลงเรื่องทะแย 7 ท่อนนี้เป็นประเภทที่เกิดขึ้นก่อนและเก่าแก่ที่สุดกว่าเพลงทะแยประเภทอื่น เป็นเพลงอัตราจังหวะสองชั้นหน้าทับปรบไก่ เป็นเพลงโบราณ อีกทั้งยังเป็นต้นกำเนิดของเพลงทะแยประเภทอื่นๆ อีกมากมาย เต็มไปด้วยทำนองหลักที่มีลักษณะคล้ายกัน หรือทำนองซ้ำกันหลายๆครั้ง จึงเป็นเพลงที่เปิดโอกาสให้ผู้บรรเลงระนาดเอกได้แสดงถึงไหวพริบปฏิภาณในการสร้างทำนองที่หลากหลาย การดำเนินทำนองของระนาดเอกในเพลงเรื่องทะแยกลองโยนนี้มีลักษณะเฉพาะพิเศษที่ท้าทายความสามารถของนักระนาดเอกในการผูกสำนวนกลอน ซึ่งการดำเนินทำนองระนาดเอกอาจจะไม่ดำเนินทำนองตามทำนองหลักตลอดทุกวรรคซึ่งในแต่ละท่อนมีทำนองหลักที่มีทำนองซ้ำกันหลายๆครั้ง สามารถสรุปเอกลักษณ์สำคัญของเพลงเรื่องทะแยกลองโยนทางระนาดเอก ได้ดังนี้ คือ 1.การดำเนินกลอนแบบเรียงเสียง มีลักษณะการใช้โน้ตที่เรียงเสียงกันซึ่งจะหลีกเลี่ยงการข้ามเสียงเกิน 5 เสียง การเคลื่อนที่ของโน้ตจะมีลักษณะเรียงเสียงกันในคู่ 2 คู่ 3 และคู่ 4 2.การดำเนินกลอนมีการวางสัมผัสกระสวนทำนอง 3.การดำเนินกลอนแบบผูกสัมผัสไปทีละคำ หรือทีละห้องผูกต่อเนื่องกัน 4.การดำเนินกลอนแบบเป็นชุดกลอนฝาก ผู้บรรเลงจะต้องใช้องค์ความรู้ที่สามารถบรรเลงด้วยกลอนที่มีความไพเราะหลากหลาย ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญาและวิธีการดำเนินทำนองเฉพาะของระนาดเอกได้อย่างสมบูรณ์ ก็จะสามารถสะท้อนถึงความสามารถ ความชำนาญและความมีไหวพริบปฏิภาณของผู้บรรเลง ABSTRACT This research aims to analyze the melody structure of the drum drum. Analyze the progress of melodic melody in a drum melody. A case study of Thai musical notes as a universal note. The board of auditors and the recording of Thai musical notes are the universal notes. The analysis is based on the main melody, along with the musical elements. The study is divided into the following topics. 1.Mode 2.Rhythm 3.Style 4.Melodic contour The research found that tayeaklongyon seven part in the type of song. And this song is the first and the oldest type of pleng tayae. It's an ancient song It is also the origin of many other types of thaisong, filled with similar melodies. Or repeatedly several times. It is a song that gives the performer an opportunity to show an uncanny ability to create a variety of melodies. The melodic melody of this song is unique in that it challenges the dagger's ability to bind poetry. The melody may not perform the main melody throughout the paragraph, which in each verse has a melody that repeats several times. Can be summarized the essence of the song on the drum drums are as follows. 1. Performing a lyrical poem It is characterized by the use of neat notes, which avoids crossing over 5 sounds. The movement of the note is arranged in pairs. 2 pairs 3 and 4 pairs. 2. The melody is laid out touching the melody. 3. Touch-tone operation Or one room at a time. 4. The melody is a set by set. The player must use the knowledge that can play a versatile verse. This will reflect the landscape and how to perform the specific melody of the alpine. It can reflect the ability. The skill and ingenuity of the performers.  
     Keyword การดำเนินทำนองระนาด,เพลงเรื่อง,เพลงเรื่องทะแยกลองโยน 
Author
575220003-5 Mr. YUTTANA KANAYOD [Main Author]
Fine and Applied Arts Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0