2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ พัฒนาการเครื่องประดับอีสาน 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 10 ตุลาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิถีสังคม มนุษย 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 
     ISBN/ISSN ISSN : 2287-0482 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า 161-192 
     บทคัดย่อ บทความเรื่องพัฒนาการเครื่องประดับอีสานมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการ เครื่องประดับอีสาน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เครื่องมือประเภทแบบสํารวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม โดยมีพื้นที่วิจัยจํานวน 4 แห่งประกอบด้วย บ้านเขวาสินรินทร์ อําเภอเขวาสินรินทรื จังหวัดสุรินทร์ บ้านหนองคู อําเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ บ้านปะอาว อําเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และบ้านหนองฮี อําเภอ ปลาปาก จังหวัดนครพนมผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการเครื่องประดับอีสานเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสืบทอด มาจนถึงปัจจุบัน ในด้านรูปแบบพบว่ามีรูปแบบและลวดลายที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัวและรูปทรงจากวัฒนธรรม ด้านสุนทรียภาพพบว่าเครื่องประดับแบบ ดั้งเดิมมีลักษณะความเป็นหน่วยเดียวกันและมีความสมดุลจนกระทั่งมีการพัฒนาโดย ตัดทอนรูปทรงและรายละเอียดลวดลายให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น ด้านวัสดุพบว่าเครื่อง ประดับแบบดั้งเดิมจะใช้วัสดุที่มีราคาประเภททอง เงิน พลอยเนื้ออ่อน ส่วนเครื่องประดับ ปัจจุบันทํามาจากเงิน ทองเหลือง พลอยแท้ พลอยสังเคราะห์และพลอยพระยานาค ด้านกระบวนการผลิตยังคงรูปแบบดั้งเดิมทั้งการหลอม การตีขึ้นรูป รีด ดัด เชื่อม สลักดุน ถมดํา ขัดเงาและวิธีการขี้ผึ้งหาย ด้านคติความเชื่อแบบดั้งเดิมเชื่อเรื่องโชคลางของขลัง ส่วนปัจจุบันมีคติความเชื่อเกี่ยวกับอัญมณีสอดคล้องกับความเชื่อของอัญมณีแต่ละชนิด และด้านประโยชน์ใช้สอยพบว่าเครื่องประดับแบบดั้งเดิมแสดงฐานะทางสังคมเป็นส่วน ประกอบในพิธีกรรมส่วนปัจจุบันเพื่อประโยชน์ด้านความสวยงาม 
     คำสำคัญ อีสาน, เครื่องประดับ, เงิน, อัญมณี 
ผู้เขียน
557220010-0 น.ส. เยาวลักษณ์ เชื้อทอง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0