2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article อิทธิพลของสัดส่วนชีวมวลผสมและอุณหภูมิไพโรไลซิสที่ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพ ของถ่านที่ผลิตได้ในกระบวนการไพโรไลซิสแบบช้า เพื่อประยุกต์ไปใช้เชิงธุรกิจชุมชน 
Date of Acceptance 5 August 2018 
Journal
     Title of Journal วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก 
     Standard TCI 
     Institute of Journal สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก 
     ISBN/ISSN  
     Volume 11 
     Issue
     Month กรกฎาคม - ธันวาคม
     Year of Publication 2018 
     Page 75-83 
     Abstract งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการไพโรไลซิสร่วมแบบช้าของชีวมวล 3 ชนิด คือ ชานอ้อย ใบอ้อย และผักตบชวา โดย ใช้เตาปฏิกรณ์เบดนิ่งขนาดห้องปฏิบัติการในการทดสอบเพื่อศึกษาอิทธิพลของสัดส่วนชีวมวลผสมและอุณหภูมิไพโรไลซิส ที่ส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของถ่านที่ผลิตได้ โดยมีเงื่อนไขที่ใช้ในการทดสอบ คืออุณหภูมิของกระบวนการไพโรไลซิส แบบช้าที่ 300, 550 และ 700 องศาเซลเซียส อัตราการไหลของไนโตรเจน 50 มิลลิลิตรต่อนาที อัตราการให้ความร้อน 10 องศาเซลเซียสต่อนาที และ สัดส่วนของชานอ้อยต่อใบอ้อยต่อผักตบชวา คือ 0:1:2, 0:2:1, 1:2:0, 1:0:2, 2:1:0, 2:0:1 และ 1:1:1 จากการทดลองพบว่า ปริมาณผลิตภัณฑ์ของถ่านชีวภาพเฉลี่ยเมื่อเผาที่อุณหภูมิ 300, 550 และ 700 องศา เซลเซียส มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 39.3, 29.40 และ 25.12 ตามล􀄞ำดับ ถ่านชีวภาพที่มีค่าความร้อนผ่านเกณฑ์ค่าความร้อน ขั้นต􀄞่ำของมาตรฐานชุมชน คือ ถ่านที่มีสัดส่วน 0:2:1, 1:2:0, 2:1:0, 2:0:1 และ 1:1:1 โดยถ่านที่ให้ค่าความร้อนสูงที่สุด คือ ถ่านที่มีสัดส่วน 1:2:0 ที่อุณหภูมิ 550 องศาเซลเซียสได้ค่าความร้อน 6,148 แคลอรีต่อกรัม ถ่านชีวภาพที่สามารถ น􀄞ำไปใช้ในเชิงพลังงานมีสัดส่วนของชีวมวล ชานอ้อยต่อใบอ้อยต่อผักตบชวา คือ 1:0:2 และ 0:1:2 ใช้อุณหภูมิในการเผา ที่ 300 องศาเซลเซียส มีค่า Energy Recovery ร้อยละ 57 
     Keyword ชานอ้อย ใบอ้อย ผักตบชวา ถ่านชีวภาพ อุณหภูมิไพโรไลซิส 
Author
575040029-9 Miss PIMSOPIT SOD-IUM [Main Author]
Engineering Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ตีพิมพ์แล้ว 
Level of Publication ชาติ 
citation false 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0