2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย อ.บรบือ จ.มหาสารคาม 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 11 พฤษภาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN 1905-6729 
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2561 
     หน้า 7-25 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบตัดขวางเชิงวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความชุกของการเกิดโรคฟันผุ และค้นหาปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยงการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ในช่วงเดือน สิงหาคม – ธันวาคม 2560 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยเด็กปฐมวัยอายุ 3-5 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 641 คน และผู้ปกครองของเด็ก จำนวน 641 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยใช้แบบสอบถามสำหรับผู้ปกครอง และการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยที่ดัดแปลงมาจากแบบตรวจตามองค์การอนามัยโลกปี ค.ศ. 1997 ตรวจฟันผุด้วยดัชนีฟันผุ ถอน อุด โดยทันตแพทย์หนึ่งคนที่มีประสบการณ์การตรวจช่องปากและผ่านการปรับมาตรฐานการตรวจ ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปร และวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย โดยมีการควบคุมตัวแปรรบกวนด้วยสมการถดถอยพหุคูณลอจิสติก ผลการศึกษาพบว่า เด็กในเขตเมืองมีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 80 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 5.61 ซี่/คน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.03 ส่วนเด็กในเขตชนบทมีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 58.9 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 3.73 ซี่/คน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.61 ผลการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยในสมการถดถอยพหุคูณลอจิสติก พบว่า โรคฟันผุในเด็กปฐมวัยสัมพันธ์กับการที่เด็กได้รับการฝากครรภ์ที่สถานบริการของรัฐบาล โดยเด็กจะมีโอกาสเกิดโรคฟันน้ำนมผุได้มากกว่า (OR = 1.57; 95% CI = 1.02 - 2.42; p = 0.04) การมีสภาวะเคลือบฟันเจริญพร่อง สัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันน้ำนมผุ (OR = 2.73; 95% CI = 1.71 - 4.36; p < 0.001) เด็กที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองพบการผุของฟันน้ำนมมากกว่าเขตชนบท (OR = 3.23; 95% CI = 2.06 - 5.05; p < 0.001) เด็กที่รับประทานยาน้ำเชื่อมเป็นประจำพบฟันน้ำนมผุมากกว่า (OR = 4.03; 95% CI = 1.16 - 14.06; p < 0.02 ) และอายุที่ผู้ปกครองให้เด็กเริ่มแปรงฟันเอง ≤12 เดือน (OR = 1.75; 95% CI = 1.00 - 3.05; p < 0.04) ผลการศึกษาเน้นย้ำความสำคัญของปัจจัยหลายประการที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย จึงควรดำเนินการส่งเสริมป้องกัน ตลอดจนให้ความรู้และปรับพฤติกรรมในการเลี้ยงดูเด็กเล็กเพื่อสร้างเสริมทันตสุขภาพที่ดี เพื่อลดการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยในพื้นที่อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคามต่อไป  
     คำสำคัญ โรคฟันผุในเด็กปฐมวัย ปัจจัยบ่งชี้ความเสี่ยง จังหวัดมหาสารคาม 
ผู้เขียน
595130001-2 น.ส. สุทธิรัศมิ์ พรรณพราว [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 18