2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความตรงและความเที่ยงของการวัดระดับความรู้สึกกดเจ็บด้วยเครื่องดับเบิลยู อี บริเวณเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 (Validity and reliability of meaning pressure pain threshold using WE pressure pain threshold meter in diabetic foot of type 2 diabetes mellitus patients) 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 8 ธันวาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 
     มาตรฐานของวารสาร  
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 31 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-เมษายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การรับรู้ความรู้สึกของฝ่าเท้าที่ผิดปกติหรืออาการชาเท้าเป็นอาการที่มักพบได้โดยทั่วไปในผู้ป่วยเบาหวาน มีสาเหตุมาจากภาวะความเสื่อมของระบบประสาทและหลอดเลือดส่วนปลาย การนวดไทยถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาเท้าเบาหวาน ส่วนใหญ่ขนาดของแรงกดนวดที่ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับรู้ได้มักมีแนวโน้มที่มากกว่าขนาดแรงกดในคนปกติ ซึ่งขนาดของแรงที่มากเกินไปอาจเกิดอันตรายต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อได้ ดังนั้นการระบุขนาดของแรงกดที่ปลอดภัยและให้ผลดีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่การประยุกต์การวัดขนาดของแรงกดสามารถวัดด้วยเครื่องวัดระดับความรู้สึกกดเจ็บนั้นยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อน ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตรงและความเที่ยงของเครื่องวัดระดับความรู้สึกกดเจ็บดับเบิลยู อี ที่สร้างขึ้นมาใหม่ โดยทำการทดสอบความตรงกับ ตาชั่งมาตรฐาน และเครื่องวัดระดับความรู้สึกกดเจ็บแบบดิจิตอล และทดสอบความเที่ยงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 43 คน มีอายุเฉลี่ย 64.77 ± 8.41 ปี และเป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.1 ผู้ป่วยแต่ละรายได้รับแรงกดที่บริเวณฝ่าเท้าข้างที่ถนัด ตำแหน่งระหว่างหัวกระดูกนิ้วชี้และนิ้วกลาง กดค้างไว้เป็นเวลา 5 วินาที โดยปริมาณของแรงกดในแต่ละครั้งเพียงแค่ให้อาสาสมัครเริ่มรู้สึกไม่สบาย ทำการกดจำนวน 3 ครั้ง และมีการพักแต่ละครั้งห่างกัน 2 นาที ผลการศึกษาพบว่าจากการทดสอบความตรงของเครื่อง ดับเบิลยู อี กับ ตาชั่งมาตรฐาน และกับเครื่องวัดระดับความรู้สึกกดเจ็บแบบดิจิตอล มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันของทั้งสองคู่ที่เท่ากัน คือ 0.99 (95% ช่วงเชื่อมั่นอยู่ระหวาง 0.99 ถึง 1.00 ที่ระดับนัยสำคัญน้อยกว่า 0.001) และมีความเที่ยงที่แสดงค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ภายในกลุ่มเท่ากับ 0.87 (95% ช่วงเชื่อมั่นอยูระหวาง 0.78 ถึง 0.93 ที่ระดับนัยสำคัญน้อยกว่า 0.001) การศึกษาสรุปได้ว่าเครื่องวัดระดับความรู้สึกกดเจ็บ ดับเบิลยู อี มีความตรงและความเที่ยงอยู่ในเกณฑ์ระดับสูง อีกทั้งยังใช้งานง่ายและมีราคาถูก จึงควรถูกนำมาเป็นเครื่องมือที่เป็นทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสำหรับใช้ติดตามผลการรักษาทางกายภาพบำบัด การนวดไทย และงานวิจัยในอนาคตได้ 
     คำสำคัญ ความตรง, ความเที่ยง, ระดับความรู้สึกกดเจ็บ, เครื่องวัดระดับความรู้สึกกดเจ็บ 
ผู้เขียน
585090022-4 น.ส. ณัฐกานต์ ศรีม่วง [ผู้เขียนหลัก]
คณะเทคนิคการแพทย์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0