2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ศักยภาพการให้ผลผลิตและความสามารถในการทนแล้งในอ้อย 15 สายพันธุ์ ที่ได้รับน้ำแตกต่างกัน 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 24 มกราคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร แก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 46 
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ระบบการปลูกอ้อยส่วนใหญ่ของประเทศไทยเป็นการปลูกแบบอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ซึ่งมักจะกระทบแล้งและทำให้มีผลผลิตลดลงอย่างมาก ซึ่งการใช้พันธุ์อ้อยทนแล้งจะเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางการเกษตรและผลผลิตภายใต้สภาพการได้รับน้ำปกติและการขาดน้ำ ดำเนินการทดลองที่หมวดพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการวางแผนการทดลองแบบ Split Plot in Randomized Complete Block Design จำนวน 4 ซ้ำ กำหนดให้ปัจจัยหลัก (Main plot คือ) (1) ให้น้ำปกติ และ (2) ขาดน้ำในช่วงต้นของการเจริญเติบโต ส่วนปัจจัยรอง (Sub plot) คือ พันธุ์อ้อย 15 สายพันธุ์ ปลูกทดสอบในแปลงย่อยที่มีขนาด 6 x 4 เมตร มี 4 แถว แต่ละแถวยาว 4 เมตร ระยะระหว่างร่อง 1.5 เมตร ระยะปลูก 0.5 เมตร ตรวจวัดข้อมูลองค์ประกอบผลผลิตที่อายุ 12 เดือน โดยพบว่าระดับการให้น้ำที่แตกต่างกันมีผลทำให้ลักษณะต่างๆที่ศึกษามีความแตกต่างกันในทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ความยาวลำ น้ำหนักลำเดี่ยว (P<0.01) และค่าความหวาน (P<0.05) อ้อยที่นำมาทดสอบ มีความแตกต่างกันในทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญระหว่างพันธุ์ ในลักษณะความยาวปล้อง ความยาวลำ เส้นผ่านศูนย์กลางลำ น้ำหนักลำเดี่ยว จำนวนลำต่อกอ จำนวนลำต่อไร่ ผลผลิตอ้อย(P<0.01) และค่าซีซีเอส (P<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่ามีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพการได้รับน้ำและพันธุ์อ้อยในลักษณะ ความยาวปล้อง ความยาวลำ เส้นผ่านศูนย์กลางลำ น้ำหนักลำเดี่ยว จำนวนลำต่อกอ จำนวนลำต่อไร่ และผลผลิตอ้อย พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงทั้งในสภาพได้รับน้ำปกติและการขาดน้ำเป็นพันธุ์ที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิต ได้แก่ พันธุ์ MPT03-320, PR3067, MPT06-166, K88-92 และ Nco382 โดยลักษณะทางการเกษตรที่ส่งเสริมให้อ้อยมีผลผลิตที่สูงมีความแตกต่างกัน โดยในพันธุ์ MPT03-320 มีลักษณะเส้นผ่านศูนย์กลางลำน้ำหนักลำเดี่ยวสูง พันธุ์ PR3067 มีลักษณะจำนวนลำต่อกอและจำนวนลำต่อไร่สูง พันธุ์ MPT06-166, K88-92 และ Nco382 มีลักษณะความยาวลำและน้ำหนักลำเดี่ยวสูง และในสภาพขาดน้ำ พันธุ์ที่สามารถรักษาผลผลิตได้ดี ได้แก่ พันธุ์ CP57-603 ลักษณะที่ส่งเสริมให้ผลผลิตสูงคือ มีความยาวปล้องและความยาวลำสูง และพันธุ์ BO14 ลักษณะที่ส่งเสริมให้ผลผลิตสูงคือ มีความยาวลำสูง ดังนั้นลักษณะดังกล่าวจะช่วยรักษาระดับการให้ผลผลิตสูงภายใต้สภาพการขาดน้ำ สามารถใช้เป็นลักษณะที่เหมาะสมเพื่อใช้คัดเลือกพันธุ์ในระบบการปรับปรุงพันธุ์อ้อย ตลอดจนได้สายพันธุ์ที่มีการปรับตัวที่ดีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  
     คำสำคัญ การขาดน้ำ, ระบบปรับปรุงพันธุ์, ผลผลิตอ้อย, ลักษณะทางการเกษตร, องค์ประกอบผลผลิต 
ผู้เขียน
585030069-4 น.ส. จริยา นามวงษา [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0