2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การจัดซื้อยาร่วมระดับเขต: กรณีศึกษา เขตบริการสุขภาพแห่งหนึ่ง 
Date of Distribution 15 March 2019 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 
     Organiser มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 15 March 2019 
     To 15 March 2019 
Proceeding Paper
     Volume 20 
     Issue 20 
     Page 1095-1110 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้มีการจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่มีการใช้สูงร่วมกัน ซึ่งได้มีการดำเนินการอย่างแพร่หลายทั้งในระดับจังหวัด และระดับเขต ทั้งนี้ วิธีการดำเนินการ ผลการจัดซื้อยาร่วม และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ถูกนำเสนออย่างจำกัด วัตถุประสงค์: อธิบายวิธีการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต วิเคราะห์ผลการจัดซื้อยาร่วม และระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต วิธีดำเนินการวิจัย: 1) สัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต จำนวน 19 ราย 2) ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อยา 3) วิเคราะห์ผลการจัดซื้อยาร่วม ปีงบประมาณ 2556 – 2559 ผลการวิจัย: 1) เขตสุขภาพที่ศึกษาดำเนินการจัดซื้อยาร่วม 2 รูปแบบ คือ การประกวดราคา และการต่อรองราคา (สืบราคา) ซึ่งแนวทางหลักที่มีการดำเนินการ คือการประกวดราคา โดยมีขั้นตอน ดังนี้ การแต่งตั้งคณะกรรมการและการวางแผนการดำเนินงาน, การคัดเลือกรายการยาและการกำหนดปริมาณ, การกำหนดวงเงินในการจัดซื้อยา และราคาตั้ง, การกำหนดเงื่อนไขและคุณลักษณะเฉพาะ และการกำหนดเกณฑ์คัดเลือกผู้ชนะการเสนอราคา, กระบวนการประกวดราคา, การบริหารสัญญา และการกำกับติดตาม 2) ผลการจัดซื้อยาร่วมระดับเขต พบว่า ในปีงบประมาณ 2556 – 2559 เขตสุขภาพที่ศึกษามีการจัดซื้อยาร่วมคิดเป็นร้อยละ 18.33, 33.06, 35.43, และ 41.81 ของมูลค่ายาที่จัดซื้อทั้งหมด ตามลำดับ ซึ่งบรรลุตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข มูลค่ายาที่ประหยัดได้คิดเป็นร้อยละ 17.03, 30.25, 24.56 และ 40.10 ตามลำดับ การจัดซื้อยาตามกลุ่มการออกฤทธิ์ พบว่า กลุ่มยาที่มีการจัดซื้อร่วมมากที่สุดในปี 2556 – 2559 คือ กลุ่มยาที่เกี่ยวกับเลือดและอวัยวะสร้างเลือด ยาต้านการติดเชื้อสำหรับทั่วร่างกาย และยาเกี่ยวกับระบบประสาท 3) ผลกระทบในการจัดซื้อยาร่วมระดับเขตมี 6 ประเด็น ได้แก่ การส่งต่อผู้ป่วยระหว่างหน่วยบริการ คุณภาพการให้บริการแก่ผู้ป่วย ภาระงาน ความโปร่งใส การให้บริการของผู้ค้า และการเติบโตของอุตสาหกรรม 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดซื้อยาร่วม ได้แก่ การมีผู้รับผิดชอบหลัก และคณะทำงานที่มีประสบการณ์, การยอมรับจากเครือข่ายการดำเนินงานแต่ละระดับ และระบบสารสนเทศ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้เปรียบเทียบการดำเนินการในปัจจุบัน กับแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดซื้อยาขององค์การอนามัยโลก พบว่า ประเด็นการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส และประเด็นการเงินและการแข่งขันทางการตลาด มีการดำเนินงานส่วนใหญ่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดี ส่วนการคัดเลือกรายการยาและกำหนดปริมาณที่จะซื้อ และการเลือกผู้ค้าและการประกันคุณภาพยา พบการดำเนินงานบางประเด็นไม่เป็นไปตามแนวปฏิบัติที่ดี โดยมีข้อเสนอหลักในการพัฒนา คือ วิธีการคัดเลือกผู้ค้าสำหรับกลุ่มยาที่มีผู้จำหน่ายรายเดียว ควรใช้วิธีประกวดราคาตามกลุ่มการรักษา หรือมีการพิจารณาต้นทุน-ประสิทธิผลของยา โดยใช้ value-based purchasing, ยาที่มีผู้จำหน่ายน้อยราย ควรมีการจัดซื้อยาร่วมโดยการทำสัญญากับผู้ค้ามากกว่า 1 ราย, รายการยาที่มียาชื่อสามัญแข่งขันในตลาดหลายราย ควรให้โรงพยาบาลการจัดซื้อเอง ซึ่งควบคุมด้วยราคากลาง  
Author
565150056-2 Miss NATTAWADEE TARASENA [Main Author]
Pharmaceutical Sciences Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0