2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การจัดการด้านยาในโรงเรียน : กรณีศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 15 มีนาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม ห้อง GL 314 ชั้น 3 อาคารพจน์ สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 15 มีนาคม 2562 
     ถึง 15 มีนาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 20 
     Issue (เล่มที่) 20 
     หน้าที่พิมพ์ 1081-1094 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การจัดการด้านยาในโรงเรียน :กรณีศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด Medication Management in School : A Case Study in High School at Roi Et Province อัจฉรียา อภัยสูงเนิน (Achareeya Apaisoongnern)* ดร.กรแก้ว จันทภาษา (Dr.Kornkaew Chanthapasa)** บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการด้านยาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจและแบบสัมภาษณ์ ประชากรที่ศึกษาคือโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดร้อยเอ็ด 60 แห่งและกลุ่มตัวอยาง่ คือครูพยาบาล 60 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม -กรกฎาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า โรงเรียนมีการให้บริการห้องพยาบาลเต็มรูปแบบร้อยละ 55 ตั้งแต่การแจ้งครูประจำชั้นเพื่อนำส่งห้องพยาบาล ผู้ป่วยบันทึกข้อมูลการให้บริการ ซักประวัติการแพ้ยาและ โรคประจำตัวก่อนจ่ายยา และครูพยาบาลจ่ายยาและทำแผล รวมถึงการส่งต่อโรงพยาบาล ขณะที่โรงเรียนร้อยละ 43.33 ให้บริการในบางขั้นตอน และพบว่ามีโรงเรียน 1 แห่งไม่มีการบันทึกข้อมูล และนักเรียนสามารถมาหยิบยาได้เอง จากการศึกษา พบว่า ร้อยละ 99.21 ของคุณครูพยาบาลไม่ได้จบการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์โดยตรง ร้อยละ 71.67 เคยอบรมเรื่องการใช้ยาและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ขณะที่ร้อยละ 23.33ไม่เคยอบรมเรื่องการใช้ยา และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเนื่องจากเป็นมารับหน้าที่ใหม่ จากการสอบถามด้านการจัดการด้านยา พบว่าคุณครู พยาบาลส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับการจัดทำบัญชีรายการยา การบันทึกข้อมูลสถิติการให้บริการและการจัดเก็บและรักษายา ให้มีคุณภาพ ร้อยละ 95, 93.33และ90 ตามลำดับ ครูพยาบาลส่วนใหญ่เห็นว่าควรจัดทำแผนจัดซื้อทุกปีและจัดสรร งบประมาณให้เพียงพอโดยให้งานพัสดุเป็นผู้จัดซื้อและควรมีกรอบยาระดับจังหวัดเพื่อเป็นเกณฑ์อ้างอิงในการจัดซื้อยา ที่เหมาะสม ควรมีบุคลากรที่มีความรู้โดยตรงมาปฏิบัติหน้าที่เป็นคุณครูพยาบาล และกำหนดบทบาทหน้าที่ การจ่ายยา โดยคุณครูพยาบาลหรือนักเรียนที่ผ่านการอบรมเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดความผิดพลาด และอยากให้มี โครงการจัดอบรมฟื้นฟูองค์ความรู้เรื่องการใช้ยาและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นทุกปี ABSTRACT This research aims to interview school nursing room teachers and examine a management of risk medicine and degradation drugs in high schools in Roi Et province by using descriptive statistics method for analyzing cross sectional data from surveys and interview. A population is 60 schools and a sample is 60 school nurse teachers from March to July 2017. The results suggest that 55% of group sample schools is full of nursing services; begin with let an advisory teacher know, then a nursing room teacher provide medicines or wound healing, and end up with transfers students to the hospital, while 43.33% is half service and there is 1.67% has no nursing service—students take a medicine themselves.Furthermore, the results also find that the results of interview find that 99.21% of school nursing room teachers do not graduated from school of medical sciences, 71.67% used to attend medicine usage and first aid program, and other 23.33% is newcomer nursing room teachers, who never attended any program. In term of opinion interview, most teachers agree with medicine listing (95%), data recording and collection of service statistics (93.33%), medicine storage and stability (90%). Moreover, nursing room teachers think that the school should have 4 main important keys: first, an enough an annually buying plan and budget, second, suitable medicine supply rules, third, skilled nursing room teachers or at least approval students who attended the program, and lastly, an annually knowledge restoration of medicine usage and first aid program. คำสำคัญ:การจัดการด้านยา โรงเรียน Keywords: Medication management, School  
ผู้เขียน
565150023-7 นาง อัจฉรียา อภัยสูงเนิน [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0