2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title พัฒนาการองวงโปงลางสว่างแดนดินศิลป์อีสาน 
Date of Distribution 13 July 2018 
Conference
     Title of the Conference ศิลปกรรมวิจัย ครั้งที่ 4 อัตลักษณ์ศิลปกรรมจากรากสู่โลก 
     Organiser ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอนแก่น 
     Conference Place ณ โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนแวนชั่น เซ็นเตอร์ 
     Province/State  
     Conference Date 13 July 2018 
     To 14 July 2018 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 1177-1181 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การศึกษาพัฒนาการของวงโปงลางสว่างแดนดินศิลป์อีสานเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของวงโปงลางสว่างแดนดินศิลป์อีสาน โรงเรียนสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพัฒนาการ ประกอบด้วย พัฒนาการในด้านดนตรี การแสดง และการแต่งกาย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสังเกต สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม โดยมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงที่มีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของวงโปงลางสว่างแดนดินฯ ประกอบด้วย ผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 15 คน จากนั้นจึงนำข้อมูลภาคสนามมาตรวจสอบแบบสามเส้าเพื่อความถูกต้องของข้อมูลในด้านบุคคล สถานที่ และเวลา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของพาร์สัน และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัยพบว่า วงโปงลางสว่างแดนดินศิลป์อีสานมีการพัฒนาโดยแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงเวลา ได้แก่ 1) ช่วงก่อตั้ง 2) ช่วงพัฒนา 3) ช่วงเข้าสู่การประกวด โดยในช่วงก่อตั้งได้เริ่มมาจากการศึกษารูปแบบวงโปงลางจากสถาบันต่างๆเพื่อนำมาเป็นแนวทาง โดยยังไม่มีการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ มีรูปแบบของดนตรี การแสดง และเครื่องแต่งกายตามแบบต้นฉบับ ช่วงพัฒนาจึงเริ่มมีการการนำเครื่องดนตรีชนิดใหม่เข้ามาใช้ในวงโปงลางรวมไปถึงการสร้างสรรค์ลายบรรเลงและสร้างสรรค์การแสดงขึ้นใหม่โดยมีแนวคิดจากการนำเอาอัตลักษณ์ท้องถิ่นของตนเอง มีการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายให้เข้ากับการแสดงที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ในช่วงเข้าสู่การประกวดเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นยุคที่มีการสร้างสรรค์ลายบรรเลง การแสดง และการแต่งกาย เพื่อการประกวดแข่งขันตามเวทีต่างๆ จึงมีการพัฒนาเครื่องดนตรีให้มีความไพเราะมากยิ่งขึ้น มีการสร้างสรรค์ลายบรรเลงและการแสดงชุดต่างๆขึ้นมากมายเพื่อใช้ในการแข่งขัน รวมไปถึงการนำเอาผ้าไหมมาใช้ตัดเย็บเครื่องแต่งกายเพื่อให้ดูสวยงามมากยิ่งขึ้น ซึ่งพัฒนาการแต่ละช่วงสอดคล้องกับทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ของพาร์สัน คือ 1) Adaptation คือการปรับตัว จำต้องเป็นปรับให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง 2) Goal Attainment คือการบรรลุเป้าหมาย ระบบจะต้องกำหนดและมีตอบสนองต่อเป้าหมายหลัก โดยแต่ละช่วงเวลามีความเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับแผนและนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เช่น นโยบายการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 64 ปีการศึกษา 2557 ซึ่งในนโยบายของการจัดงานศิลปหัตกรรมมีการจัดการแข่งขันวงโปงลางและมีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การแข่งขันอยู่เสมอ ในช่วงยุคของการแข่งขันจึงได้มีการสร้างสรรค์ลายบรรเลงและชุดการแสดงต่างๆให้เหมาะสมกับเกณฑ์การแข่งขัน  
Author
595220007-9 Miss WARANYA CHAROENLAO [Main Author]
Fine and Applied Arts Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0