2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ รูปแบบการบริหารจัดการบุคลากรสู่ความเป็นสากล 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 13 พฤษภาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร บริหารการศึกษา 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 15 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการบุคลากรสู่ความเป็นสากล สำหรับโรงเรียนเอกชน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการบุคลากรสู่ความเป็นสากล สำหรับโรงเรียนเอกชน 2) พัฒนารูปแบบของการบริหารจัดการบุคลากรสู่ความเป็นสากล สำหรับโรงเรียนเอกชนและ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการบุคลากรสู่ความเป็นสากล สำหรับโรงเรียนเอกชน โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R & D) ดำเนินการโดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการบุคลากรสู่ความเป็นสากลสำหรับโรงเรียนเอกชน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบของการบริหารจัดการบุคลากรสู่ความเป็นสากลสำหรับโรงเรียนเอกชน ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบบริหารจัดการบุคลากรสู่ความเป็นสากลสำหรับโรงเรียนเอกชน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาความต้องการจำเป็น ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายบุคลากรที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 882 โรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 1,764 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตามลำดับขั้น และกำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ ทาโร ยามาเน่ (Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 286 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายบุคลากร จำนวน 286 คน รวมทั้งสิ้น 572 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม ชนิดอัตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และกลุ่มตัวอย่างสำหรับการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการบุคลากรสู่ความเป็นสากล ได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนเอกชนขนาดกลางในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ รูปแบบของการบริหารจัดการบุคลากร สู่ความเป็นสากล สำหรับโรงเรียนเอกชน ที่สร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการแจกแจงความถี่ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จัดลำดับความสำคัญแบบ Priority Needs Index (PNI) และใช้ T-Test นำค่าเฉลี่ยมาแปลความหมาย ผลการศึกษา พบว่า 1. องค์ประกอบของการบริหารจัดการบุคลากรสู่ความเป็นสากล สำหรับโรงเรียนเอกชน มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) การวางแผนบุคลากร 2) การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 3) การให้ผลตอบแทน และ 4) การประเมินผลการปฏิบัติงาน 2. รูปแบบของการบริหารจัดการบุคลากรสู่ความเป็นสากล ประกอบด้วย 1) การวางแผนบุคลากร 2) การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 3) การให้ผลตอบแทน และ 4) การประเมินผลการปฏิบัติงาน มีการประเมินรูปแบบ ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง ความเหมาะสม และมีประโยชน์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน พบว่า ผลโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก 3. ผลการใช้รูปแบบของการบริหารจัดการบุคลากรสู่ความเป็นสากล พบว่า การพัฒนารูปแบบทั้ง 5 โมดูล ได้แก่ 1) พัฒนาการฟัง 2) พัฒนาการพูด 3) พัฒนาการอ่าน 4) พัฒนาการเขียน และ 5) พัฒนาการจัดการเรียนการสอน สามารถพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการจัดการเรียนการสอนของบุคลากรได้อยู่ในระดับมากและคะแนนทดสอบเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  
     คำสำคัญ คำสำคัญ : รูปแบบการบริหารจัดการบุคลากร, ความเป็นสากล  
ผู้เขียน
577050046-7 นาย ยุพเทพ บุณยฤทธิ์รักษา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0