2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ประสิทธิผลของการนวดเท้าตนเองที่บ้านด้วยอุปกรณ์นวดไม้ต่อการรับความรู้สึก และสมรรถนะในการทรงตัวในผู้ป่วยเบาหวาน (The effectiveness of home self-foot massage using a massage wood device on foot sensation and balance performance in patients with diabetes mellitus) 
Date of Acceptance 14 May 2019 
Journal
     Title of Journal วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Standard  
     Institute of Journal คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     Volume 31 
     Issue
     Month พฤษภาคม-สิงหาคม
     Year of Publication 2019 
     Page  
     Abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการนวดเท้าตนเองด้วยอุปกรณ์นวดต่อการรับความรู้สึกและสมรรถนะในการทรงตัว เปรียบเทียบกับการนวดเท้าตนเองด้วยมือในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 40 คน สุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนวดเท้าตนเองด้วยมือ (กลุ่มควบคุม) อายุเฉลี่ย 66.6 ± 4.2 ปี และกลุ่มนวดเท้าตนเองด้วยอุปกรณ์ไม้นวด (กลุ่มทดลอง) อายุเฉลี่ย 66.0 ± 4.0 ปีอาสาสมัครจำนวนกลุ่มละ 20 คน กลุ่มควบคุมนวดเท้าตนเองแบบนวดไทยด้วยมือ และกลุ่มทดลองนวดเท้าตนเองด้วยอุปกรณ์นวดเท้า แต่ละคนได้รับการฝึกนวดตามกลุ่มตนเองและแนะนำให้นวดที่บ้านนวดเท้า 30 นาที (ข้างละ 15 นาที) นวดทุกวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ อาสาสมัครทั้งสองกลุ่มได้รับการทดสอบการรับความรู้สึกบริเวณเท้าด้วย Semmes-Weinstein monofilament test หรือ SWMT ทดสอบการทรงตัวด้วยการทดสอบการเดินไป-กลับระยะทาง 3 เมตร (Time up and go test หรือ TUG) และการทรงตัวด้วยการยืนขาเดียว (One leg standing test หรือ OLS) ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมที่ 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ ผลการศึกษาหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 2 และ 4 สำหรับการเปรียบเทียบภายในกลุ่มใช้สถิติ analysis of variance with repeated measures พบว่า กลุ่มทดลองมีค่า SWMT, TUG และ OLS ขณะลืมตาและหลับตาทั้งสองข้างดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกันทุกช่วงเวลา ส่วนกลุ่มควบคุมค่า SWMT และ TUG ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพียง 2 ช่วงเวลา คือระหว่างสัปดาห์ที่ 2 และ 4 และที่ค่าเริ่มต้นและสัปดาห์ที่ 4 ส่วนการเปรียบเทียบช่วงเริ่มต้นและสัปดาห์ที่ 2 ไม่พบความแตกต่างกันของตัวแปรทุกค่า ในการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มภายหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ใช้สถิติ analysis of covariance พบค่า SWMT, TUG และ OLS ในกลุ่มทดลองดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในสัปดาห์ที่ 2 และ 4 (p<0.001) ยกเว้น ค่า OLS ขาข้างขวาในขณะลืมตาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในสัปดาห์ที่ 2 การศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า การนวดเท้าตนเองที่บ้านด้วยอุปกรณ์ไม้นวดเป็นประโยชน์ต่อการรับความรู้สึกและสมรรถนะในการทรงตัวในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2  
     Keyword การนวด, อุปกรณ์, การรับความรู้สึก, การทรงตัว, ผู้ป่วยเบาหวาน 
Author
575090039-6 Miss KANYARAT CHANUMKLANG [Main Author]
Associated Medical Sciences Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0