2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความดีเด่นของข้าวลูกผสมเซบั้งไฟ 1 ภายใต้สภาพปกติและสภาพแล้งในระยะการเจริญเติบโตช่วงสืบพันธุ์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 17 พฤษภาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร แก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการวารสารแก่นเกษตร กองบรรณาธิการ วารสารแก่นเกษตร 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 47 
     ฉบับที่
     เดือน ก.ย - ต.ค
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ: พันธุ์ข้าวเซบั้งไฟ 1 เป็นข้าวเหนียว นิยมปลูกมากอย่างแพร่หลายในสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว มีคุณภาพการหุงต้มดี และให้ผลผลิตสูง นอกจากนี้ยังทนทานต่อน้ำท่วมฉับพลัน แต่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องความอ่อนแอต่อสภาพแล้ง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความดีเด่นของลูกผสม ในลักษณะผลผลิตและความทนแล้ง โดยใช้พันธุ์ข้าวเซบั้งไฟ 1 เป็นพันธุ์พ่อ และข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองของไทยที่มีรายงานความทนทานต่อสภาพความแล้งจำนวน 5 พันธุ์ ได้แก่ ULR 113, ULR 199, ULR 012, ULR 125 และ ULR 007 เป็นพันธุ์แม่ จากการศึกษาความดีเด่นของลูกผสมทั้ง 5 คู่ผสมในสภาพปกติและสภาพแล้ง พบว่าคู่ผสมระหว่างข้าวพันธุ์ ULR199 และพันธุ์ข้าวเซบั้งไฟ 1 ให้ค่าความดีเด่น Mid-parent heterosis (MH) และ Better-parent heterosis (BH) ในสภาพแล้งของลักษณะผลผลิตทั้งหมดสูงกว่าคู่ผสมอื่นๆ (MH = 221.2** BH = 168.6**) นอกจากนี้ยังให้ค่า Mid-parent heterosis (MH) และ Better-parent heterosis (BH) ในสภาพแล้งของลักษณะการม้วนใบ (MH = -22.66*-32.69*) และใบตาย (MH = -21.4*-32.5*) ที่ต่ำกว่าคู่ผสมอื่นๆ และนอกจากนี้พบว่าเมื่ออยู่ในสภาพแล้งผลผลิตมีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับลักษณะทางพืชไร่ เช่น เปอร์เซ็นต์เมล็ดดี (r = 0.91**), น้ำหนัก 100 เมล็ด (r = 0.72**), ความยาวรวง (r = 0.76**), จำนวนเมล็ดต่อรวง (r = 0.73**), จำนวนหน่อต่อกอ (r = 0.76**), จำนวนรวงต่อกอ (r = 0.73**), มวลชีวภาพ(r = 0.90**), น้ำหนักรากแห้ง(r = 0.82**), การฟื้นตัวข้าวอายุ 92 วัน (r = 0.77**) และค่าดัชนีการเก็บเกี่ยว (r = 0.91**) ซึ่งสหสัมพันธ์เชิงบวก และผลผลิตในสภาพแล้งมีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับลักษณะที่บ่งบอกถึงความทนแล้ง คือ เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบ (r = -0.90**), ใบตาย (r = -0.46**), ใบม้วน (r= -0.46**) และศักย์ของน้ำในข้าวอายุ 79 วัน (r = -0.48**) ซึ่งค่าสัมประสิทธิ์ของสายสัมพันธ์เหล่านี้สามารถนำมาใช้เป็นลักษณะในการคัดเลือกข้าวทนแล้งได้. 
     คำสำคัญ Keywords: Indirect selection , Yield constraint, Yield components , Hybrid rice, Tolerance to flooding  
ผู้เขียน
595030083-1 Mr. PHOPHET PHONEKEOPASEUTH [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0