2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน(CBL) ร่วมกับ สื่อเสมือนจริง เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย รายวิชา ส 33101 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 
Date of Distribution 4 March 2019 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หลักสูตรและการสอนสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 5 
     Organiser มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 
     Conference Place โรงแรมสีมาธานี 
     Province/State นครราชสีมา 
     Conference Date 4 March 2019 
     To 4 March 2019 
Proceeding Paper
     Volume 2562 
     Issue
     Page NICCI011 1-18  
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับสื่อเสมือนจริง เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย รายวิชา ส 33101 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้นักเรียนมีทักษะความคิดสร้างสรรค์ร้อยละ 70 ขึ้นไปและมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) ซึ่ง มี 3 วงจร วงจรที่ 1 จำนวน 3 แผน วงจรที่ 2 จำนวน 3 แผน และวงจรที่ 3 จำนวน 3 แผน กลุ่มเป้าหมายของการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องเรียนที่ 1 โรงเรียนเพชรละครวิทยา ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 37 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับสื่อเสมือนจริง 2) เครื่องมือที่ใช้ในสะท้อนผล ได้แก่ แบบบันทึกผลการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน และแบบทดสอบท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดทักษะความคิดสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า ทักษะความคิดสร้างสรรค์โดยการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ร่วมกับสื่อเสมือนจริง เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย รายวิชา ส 33101 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีคะแนนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 78.70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 86.48 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 
Author
605050057-1 Miss GULATIDA PATTIBOON [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference นานาชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0