2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การตายจากอุบัติเหตุและปัจจัยร่วมของแอลกอฮอล์ และสารเสพติด 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 14 มิถุนายน 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติสวนดุสิต 2019 ครั้งที่ 4 “ศาสตร์พระราชา พัฒนาคุณภาพชีวิต นวัตกรรมเพิ่มผลผลิต ส่งเสริมเศรษฐกิจด้วยงานวิจัย” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 
     สถานที่จัดประชุม อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 14 มิถุนายน 2562 
     ถึง 14 มิถุนายน 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2019 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 105-111 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การตายจากอุบัติเหตุเป็นสาเหตุการตายสำคัญที่พบในการตายแบบผิดธรรมชาติ ที่ส่งผลต่อ ความสูญเสียทางเศรษฐกิจสำหรับประเทศไทย การวิจัยนี้สนใจที่จะศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการตายจากอุบติเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติด โดยเก็บตัวอย่างเลือด น้ำลูกตา และปัสสาวะจากผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจำนวน 22 คน (ชาย 19 และหญิง 3) ที่มีการส่งศพชันสูตร ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ในระหว่าง เมษายน 2560 ถึงกันยายน 2561 จากข้อมูลพบการตายสูงสุดในช่วงอายุ 45-54 ปี การตรวจหาแอลกอฮอล์ในตัวอย่างเลือด (BAC) ตรวจพบจำนวน 18 ตัวอย่าง เป็นเพศชาย 16 คน และหญิง 2 คน มีค่าเฉลี่ยของระดับแอลกอฮอล์ในเลือด 208.15 mg% และ 240.65 mg% ตามลำดับ ส่วนแอลกอฮอล์ในน้ำลูกตา (VAC) ตรวจพบเฉพาะในเพศชาย 9 คน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 225.32 mg% โดยค่า BAC ที่ตรวจพบมีค่าเกิน 50 mg% ที่ถือเป็นระดับเมาตาม พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ผลการตรวจคัดกรองหาเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะด้วยชุดทดสอบ GPO Meth Cassette พบผลบวก 4 ตัวอย่าง อย่างไรก็ตามการตรวจยืนยันด้วยเทคนิค TLC ไม่พบสารเมทแอมเฟตามีน การตรวจวิเคราะห์หามอร์ฟีนด้วยเทคนิค Immunochromatography ให้ผลเป็นลบ การตรวจสารออกฤทธิ์สำคัญในกัญชาด้วย GC-MS พบ tetrahydrocannabinol carboxylic acid (THCA) จำนวน 1 ตัวอย่าง เป็นเพศชายจากการตายจากอุบัติเหตุจราจร และมีค่าเฉลี่ยของระดับแอลกอฮอล์ในเลือดและน้ำลูกตา 115.83 mg% และ 110.23 mg% ตามลำดับ การศึกษานำร่องในครั้งนี้ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการใช้สารเสพติดร่วมกับการตายแบบผิดธรรมชาติจากเหตุอุบัติเหตุ แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาในตัวอย่างประชากรขนาดใหญ่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องได้รับการศึกษาต่อไป  
ผู้เขียน
585020001-4 น.ส. จิรัฐติกมล ชัยประทุม [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0