2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก (Graphic Organizers Technique) รายวิชา ส 21102 สังคมศึกษา 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 
Date of Distribution 22 March 2019 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการและการนำสนองานวิจัยทางการศึกษา "การสร้างสื่อนวัตกรรมอินโฟกราฟิคเพื่อเสริมสร้างแนวคิดประชาธิปไตยในโรงเรียนยุค 4.0"  
     Organiser คณะศึกษาศาสตร์  
     Conference Place มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 21 March 2019 
     To 22 March 2019 
Proceeding Paper
     Volume 2562 
     Issue
     Page 135 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก (Graphic Organizers Technique) รายวิชา ส 21102 สังคมศึกษา 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยกำหนดเกณฑ์นักเรียนร้อยละ 70 มีคะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร้อยละ 70 ขึ้นไป 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก (Graphic Organizers Technique) รายวิชา ส 21102 สังคมศึกษา 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยกำหนดเกณฑ์นักเรียนร้อยละ 70 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 70 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 33 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติการ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning) ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก (Graphic Organizers Technique) จำนวน 9 แผน 18 ชั่วโมง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลปฏิบัติการ ได้แก่ แบบบันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ท้ายวงจร และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ท้ายวงจร และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 27 คน คิดเป็นร้อยละ 81.82 ของนักเรียนจำนวนทั้งหมด 33 คน และมีคะแนนเฉลี่ย 47.27 จากคะแนนเต็ม 60 คิดเป็นร้อยละ 78.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือร้อยละ 70 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 25 คน คิดเป็นร้อยละ 75.76 ของนักเรียนทั้งหมด 33 คน และมีคะแนนเฉลี่ย 22.00 จากคะแนนเต็ม 30 คิดเป็นร้อยละ 73.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือร้อยละ 70 
Author
605050059-7 Miss THUNYAPHAT RAMLEE [Main Author]
Education Master's Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0