2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของการพอกเมล็ดพันธุ์ด้วยวัสดุพอกที่แตกต่างกันต่อคุณภาพของเมล็ดพันธุ์และลักษณะทางกายภาพของก้อนพอกมะเขือเทศลูกผสม 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 19 ธันวาคม 2561 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารแก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 47 
     ฉบับที่
     เดือน พ.ค.-มิ.ย. 2562
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ: มะเขือเทศเป็นพืชที่มีเมล็ดขนาดเล็ก แบน บาง และเบา ทำให้ไม่สะดวกต่อการเพาะกล้า วิธีการพอกเมล็ดสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ เนื่องจากการพอกสามารถเพิ่มขนาดและน้ำหนักของเมล็ดพันธุ์ได้การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาชนิดของวัสดุพอกที่เหมาะสมต่อการพอกเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม คุณภาพทางกายภาพ และคุณภาพหลังการพอกเมล็ดพันธุ์ ดำเนินการทดลองที่ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ อาคารโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยใช้วัสดุพอก 6 ชนิด คือ calcium sulfate, pumice, talcum, bentonite, zeolite และ charcoal ปริมาตร 100 กรัม ต่อเมล็ด 15 กรัม และใช้ Methyl hydroxylethyl cellulose (MHEC) ที่ความเข็มข้น 0.7 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก อัตรา 150 มิลลิลิตร เป็นวัสดุประสานจากผลการทดลองพบว่า การพอกเมล็ดด้วยวัสดุพอกทุกชนิดทำให้ก้อนพอกมีน้ำหนักเพิ่มสูงขึ้น 275-432 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดไม่พอก แต่การพอกเมล็ดด้วย calcium sulfate ทำให้ก้อนพอกมีความแข็ง 0.9 กิโลกรัม และมีความกร่อนของก้อนพอกเพียงเล็กน้อยคือ 0.02 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับการพอกเมล็ดด้วยวัสดุพอกชนิดอื่นๆ อีกทั้งก้อนพอกมีค่าการละลายน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม นอกจากนี้การพอกเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศด้วยวัสดุพอกต่างชนิดกันไม่ทำให้ความงอกของเมล็ดพันธุ์แตกต่างกันกับเมล็ดพันธุ์ไม่ได้พอกในทางสถิติ และนอกจากนี้หลังการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์พบว่าการพอกเมล็ดพันธุ์ด้วย calcium sulfate ไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติกับเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้พอก เมื่อตรวจสอบทั้งในสภาพห้องปฏิบัติการ และในสภาพเรือนทดลอง  
     คำสำคัญ คำสำคัญ: การยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ เมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ การพอกเมล็ดพันธุ์ 
ผู้เขียน
595030046-7 นาย สันติภาพ ไชยสาร [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0