2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยง* Development of community health system to prevent Cerebrovascular disease among risk group*  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 22 พฤษภาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิราสภากาชาดไทย 
     ISBN/ISSN ISSN 1906-7925 
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ไพรินทร์ พัสดุ. 2562. การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยง. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์: ศาสตราจารย์ ดร. ดารุณี จงอุดมการณ์ บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงโดยพื้นที่ศึกษาวิจัยใน 2 ตำบลของอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยผู้ร่วมดำเนินการวิจัยเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองที่มีผลการประเมินโดยแบบประเมิน Thai CV Stroke risk มีความเสี่ยงตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไปทั้งเพศชาย และเพศหญิงตำบล ละ 25 คน และผู้เกี่ยวข้องและองค์กรในชุมชน ได้แก่ สมาชิกในครอบครัว ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ทางสุขภาพในชุมชนตำบลละ 15 คน โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง (structured interviews) ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มเสี่ยง สมาชิกครอบครัว และผู้เกี่ยวข้องในชุมชนการสนทนากลุ่ม (semi-structured interviews) และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interviews) สังเกตอย่างมีส่วนร่วม (participant observation) และบันทึกภาคสนาม (field notes)ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณสำหรับข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 – เดือนกันยายน พ.ศ. 2561 โดยเริ่มจากการศึกษาสถานการณ์ บริบท วัฒนธรรม พฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยง ข้อจำกัด กิจกรรมการป้องกันโรค นโยบายแผนงาน ระบบสนับสนุน ปัญหา อุปสรรค บทบาทหน้าที่บุคคล และองค์กรที่เกี่ยวข้อง จุดอ่อนจุดแข็งภายในชุมชน คัดเลือกปัญหา และร่วมกันวางแผน ปฏิบัติตามแผนงาน รวมทั้งประเมินผลการเปลี่ยนแปลง โดยผู้วิจัยเข้าไปกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชน ทำให้กลุ่มเสี่ยง ญาติผู้ดูแล และผู้เกี่ยวข้องในชุมชน เกิดความร่วมมือในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาของกลุ่มที่เกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของการวิจัย ดังนี้ 1. การเปลี่ยนแปลงของระบบสุขภาพชุมชนเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง แบ่งออกเป็น 1)ระบบข้อมูล ชุมชนจำเป็นต้องรับรู้ข้อมูล ตลอดการดำเนินงาน เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงปรับเปลี่ยนแนวทางให้เหมาะสมกับบริบทของคนในชุมชน 2) ระบบการสื่อสาร การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และจำเป็นต่อการแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดความสำเร็จร่วมกัน 3) ระบบติดตามผล และเฝ้าระวัง จากการประเมินผลโครงการวิจัยพบว่าจุดแข็งที่สำคัญที่ช่วยให้โครงการวิจัยประสบความสำเร็จ กลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ด้วยตนเอง ญาติผู้ดูแลเปลี่ยนแปลงแนวทางการดูแลเนื่องจากการดำเนินโครงการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีการแบ่งเขตพื้นที่ติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด รวมทั้งเจ้าหน้าที่ และพยาบาลวิชาชีพทำหน้าที่พี่เลี้ยง (Coaching) ให้การติดตามประเมินผลการทำงานของอาสมัครสาธารณสุข ร่วมกันวางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบมากขึ้น และ4) ระบบเสริมหนุนสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมในชุมชนถือเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลง 2. การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในระบบสุขภาพชุมชน ได้แก่ 1) กำหนดผู้รับผิดชอบชัดเจน ต้องกำหนดผู้รับผิดชอบแผนงานโครงการที่ชุมชนคิดขึ้นให้ชัดเจนเพื่อให้สามารถติดตามงานได้ถูกต้องและเหมาะสม 2) สร้างความตระหนักจากชุดความรู้ ภายหลังสิ้นสุดโครงการวิจัยส่งผลให้กลุ่มเสี่ยง ญาติผู้ดูแล และผู้เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักในปัญหา เนื่องจากได้รับชุดความรู้ที่เหมาะสมกับบริบท 3) เทคนิคแบบอย่างที่ดี ผู้ร่วมวิจัยมีการเรียนรู้เพิ่มเติมเองภายในกลุ่มจากบุคคลที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งถือเป็นแบบอย่างที่ดี และ 4) กระตุ้นเตือนจากกลุ่ม ข้อความซึ่งเป็นความรู้ที่ได้รับจากการอบรม ทำให้เกิดการเรียนรู้ภายในกลุ่ม กระตุ้นเตือน และให้กำลังใจเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ดีขึ้น ซึ่งกลุ่มเสี่ยงได้สะท้อนว่าข้อความ “ตีบ แตก ตัน อันตราย” สามารถช่วยให้ตนเองเกิดความตระหนัก และห่วงใยสุขภาพของตนเองมากขึ้น จากการศึกษาครั้งนี้ได้แนวทางในพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยง ควรนำกระบวนการวิจัยนี้ไปใช้ในการศึกษาในพื้นที่อื่นต่อไป เพื่อยืนยันผลการศึกษา และนำไปทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่างที่มากขึ้น เพื่อให้เกิดเป็นทฤษฎีต่อไป  
     คำสำคัญ ระบบสุขภาพชุมชน ป้องกัน โรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มเสี่ยง 
ผู้เขียน
587060003-0 น.ส. ไพรินทร์ พัสดุ [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0