2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ความสัมพันธ์ของระดับความเสียหายกับประชากรไรแดงหม่อน Tetranychus truncatus Ehara ในมันสำปะหลัง 3 พันธุ์ 
Date of Acceptance 27 November 2017 
Journal
     Title of Journal แก่นเกษตร ฉบับพิเศษ  
     Standard TCI 
     Institute of Journal คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     Volume 46 
     Issue พิเศษ 1 
     Month
     Year of Publication 2018 
     Page  
     Abstract ไรแดงหม่อน Tetranychus truncatus เป็นศัตรูสำคัญของมันสำปะหลังในประเทศไทย ความรุนแรงของการทำลายขึ้นกับพันธุ์มันสำปะหลัง การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประชากรไรแดงหม่อน,ช่วงระยะเวลาของความเสียหายแต่ละระดับ และ ความสัมพันธ์ระหว่างประชากรไรแดงหม่อนและระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นบนมันสำปะหลัง 3 พันธุ์ คือ ห้วยบง60 (HB60) เกษตรศาสตร์50 (KU50) และ ระยอง72 (RY72) โดยปล่อยไรแดงหม่อนเพศเมีย 40 ตัวต่อต้น พันธุ์ละ 10 ซ้ำ ในโรงเรือนทดลองช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2560 บันทึกปริมาณไรแดงหม่อนทุกวัย และระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นทุก 3 วัน โดยแบ่งความเสียหายเป็น 5 ระดับ คือ L1 = ไม่มีการทำลาย, L2 = ใบด่าง ≤25%, L3 = ใบด่าง 50%, L4 = ใบด่าง 75% และ L5 = ใบด่าง 100% พันธุ์ระยอง 72 ปรากฏอาการความเสียหายระดับ 5 เร็วที่สุด คือวันที่ 38 ตามด้วย พันธุ์ห้วยบง 60 (วันที่ 41) และเกษตรศาสตร์ 50 (วันที่ 53) และมีช่วงระยะเวลาของความเสียหาย คือ 47, 44 และ 32 วัน ตามลำดับ ความสัมพันธ์ของจำนวนประชากรไรแดงหม่อนสูงสุดและระดับความเสียหายมีความแตกต่างกันในมันสำปะหลัง 3 พันธุ์ ในพันธุ์ห้วยบง 60 และระยอง 72 มีจำนวนประชากรสูงสุดที่ความเสียหายระดับ 3 คือ 67.6 และ 84.5 ตัว/ใบขณะที่พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 มีประชากรสูงสุดที่ความเสียหายระดับ 2 คือ 55.4 ตัว ค่าความสัมพันธ์ (r) ของระดับความเสียหายกับประชากรไรแดงหม่อน ในพันธุ์ระยอง 72 ห้วยบง60 และเกษตรศาสตร์ 50 คือ 0.83, 0.50 และ -0.64 ตามลำดับ 
     Keyword ไรแดงหม่อน มันสำปะหลัง ระดับความเสียหาย 
Author
595030039-4 Miss ฺBENJAPORN CHAMNAN [Main Author]
Agriculture Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ตีพิมพ์แล้ว 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0