2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้ารับการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จังหวัดขอนแก่น  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 5 กรกฎาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ ๗ ขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ ๗ ขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 27 
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม-สิงหาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบ Case-control อัตราส่วนระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมเท่ากับ 1:1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้ารับการตรวจการติดเชื้อเอชไอวี ในชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณขนาดตัวอย่างเท่ากับ 184 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษาที่เป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่ตรวจการติดเชื้อเอชไอวีครั้งแรกในปี 2560 และกลุ่มควบคุมเป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายที่ไม่เคยตรวจการติดเชื้อเอชไอวีมาก่อนในชีวิต เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ตอบผ่านการแสกนรหัสคิวอาร์ (QR code line) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย ด้วย Multiple logistic regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted odds ratio (ORadj) และช่วงความเชื่อมั่นที่ระดับร้อยละ 95 (95% CI) ผลการศึกษาพบว่า มีหลายปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเข้ารับการตรวจการติดเชื้อเอชไอวี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ได้แก่ อาชีพข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐ (ORadj=6.54, 95% CI: 1.57-27.20) การเคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (ORadj=24.79, 95% CI: 4.28-143.30) การรับรู้ว่าการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีสามารถรู้ผลได้ภายในวันเดียว (ORadj= 22.78, 95% CI : 7.07-73.40) การได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่ให้คำปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (ORadj=3.41, 95% CI : 1.00-11.62) การจัดบริการเชิงรุก (การจัดบริการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีนอกสถานที่) โดยกลุ่มแกนนำ MSM (ORadj = 8.84, 95% CI : 2.86-27.33) จากการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การมีความเสี่ยงหรือการรับรู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายจังหวัดขอนแก่น ไม่ได้เป็นปัจจัยที่มีน้ำหนักมากพอที่จะส่งผลต่อการตัดสินใจเดินเข้ามารับบริการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีในสถานบริการ แต่การปรับบริการที่สอดคล้องต่อความต้องการ เช่น การตรวจการติดเชื้อเอชไอวีแบบรู้ผลภายในวันเดียว การจัดบริการเชิงรุกตรวจการติดเชื้อเอชไอวีนอกสถานบริการ โดยการจัดกิจกรรมของกลุ่มแกนนำชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในแต่ละอำเภอ ที่ดึงดูดความสนใจ และเกิดการรวมตัวของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย กลับเป็นปัจจัยที่ทำให้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายตัดสินใจเข้ารับการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีมากกว่า  
     คำสำคัญ ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย การตรวจเลือดแบบทราบผลภายในวันเดียว บริการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีเชิงรุกในชุมชน 
ผู้เขียน
595110062-4 นาย วิศรุต แวงไทย [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0