2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การควบคุมระบบติดตามดวงอาทิตย์ด้วยมอเตอร์เดี่ยวแกนคู่โดยใช้ฟัซซีลอจิก (Sun Tracking System Control with Single Motor Dual Axial by Using Fuzzy Logic) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 9 มีนาคม 2561 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครังที 19 The 19th National Graduate Research Conference  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม ห้อง GL213 ชั้น 2 อาคารพจน์สารสิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 9 มีนาคม 2561 
     ถึง 9 มีนาคม 2561 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2561 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 210-218 
     Editors/edition/publisher บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     บทคัดย่อ การติดตามทิศทางดวงอาทิตย์ของแผงโซล่าเซลล์ แบบเดิมนั้นมีสองชนิดคือชนิดมอเตอร์เดี่ยวปรับการหมุนแบบแกนเดี่ยว (SMSA) แม้ควบคุมการทำงานง่ายแต่ให้ประสิทธิภาพการทำงานค่อนข้างต่ำ ประมาณ 10-21% และชนิดมอเตอร์คู่ปรับการหมุนแบบแกนคู่ (DMDA) ซึ่งมีการควบคุมที่ซับซ้อนและมีราคาแพง แต่ให้ประสิทธิภาพการทำงานค่อนข้างสูง ประมาณ 22-33% งานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาและสร้างระบบติดตามดวงอาทิตย์ชนิดใหม่ ที่มีวิธีการปรับการหมุนติดตามดวงอาทิตย์แบบอัตโนมัติ ด้วยการนำระบบควบคุมแบบฟัซซีลอจิกมาผสมผสานกับระบบกลไกชนิดมอเตอร์เดี่ยวแบบแกนคู่ (SMDA) ทำให้ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เซนเซอร์ตรวจจับแสง แต่ยังมีความทันสมัย ใช้งานง่าย ราคาถูกและมีความยืดหยุ่นปรับตัวเองได้ตามข้อมูลอินพุตที่ใช้การระบุตำแหน่งละติจูดและลองจิจูด ณ วันที่และเวลา ที่สอดคล้องกันเท่านั้น จากผลการทดลองแม้จะอยู่ในช่วงฤดูหนาวที่มีรังสีจากดวงอาทิตย์น้อยที่สุดแต่ชนิดมอเตอร์เดี่ยวปรับการหมุนแบบแกนคู่ (SMDA) ให้ประสิทธิภาพการทำงาน 23.30% โดยมีการเปรียบเทียบในประเด็นของประสิทธิภาพการทำงานและระยะเวลาการคืนทุนกับระบบที่ดีที่สุดคือชนิดมอเตอร์คู่ปรับการหมุนแบบแกนคู่ (DMDA) พบว่าให้ประสิทธิภาพการทำงานคิดเป็นสัดส่วน 72.81% แต่มีการการคืนทุนเร็วกว่า 41.86% ตามลำดับ ซึ่งการวิจัยนี้เป็นเพียงต้นแบบของระบบติดตามดวงอาทิตย์ด้วยมอเตอร์เดี่ยวแกนคู่ (SMDA) หากพัฒนาในส่วนกลไกการปรับการหมุนที่มีความละเอียดมากขึ้น จะทำให้ประสิทธิภาพการการติดตามเพิ่มมากขึ้น  
ผู้เขียน
585040122-4 นาย ธนณัฐ ปะกินำหัง [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0