2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาความสามารถในการเขียนตัวหนังสือแสดงจำนวนนับของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น โดย ใช้รูปแบบการตอบสนองต่อการช่วยเหลือ (Response to Intervention : RtI)  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 30 กรกฎาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม วิจัยสร้างงานนวัตกรรม เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและสังคมไทย สู่ Disruptive Society 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 85 ถนนมาลัยแมน อ.เมือง 
     จังหวัด/รัฐ นครปฐม 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 11 กรกฎาคม 2562 
     ถึง 12 กรกฎาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 11 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1802-1810 
     Editors/edition/publisher สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 
     บทคัดย่อ นายสุทิตย์ สิมมา. 2561. การศึกษาความสามารถในการเขียนตัวอักษรแสดงจำนวนนับของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดขอนแก่น โดย ใช้รูปแบบการตอบสนองต่อการช่วยเหลือ (Response to Intervention : RtI). วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนการศึกษาพิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : รองศาสตราจารย์ ดร. อัญชลี สารรัตนะ บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถด้านการเขียนตัวหนังสือแสดงจำนวนนับของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น ด้วยรูปแบบการตอบสนองต่อการช่วยเหลือ และเพื่อศึกษาจำนวนนักเรียนที่สามารถเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดในหลักสูตรหลังจากเรียนด้วยรูปแบบการตอบสนองต่อการช่วยเหลือ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเลือกโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2 ระยะ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ทั้งชั้น และแผนการจัดการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย 2) แบบทดสอบความสามารถในการเขียนตัวอักษรแสดงจำนวนนับ และ3) แบบฝึกหัดตามหมวดการเขียนตัวอักษรแสดงจำนวนนับแบบแผนการทดลองที่ใช้คือ แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลต่างของคะแนนก่อนและหลังการสอนมีช่วงคะแนนระหว่าง 13–20 คะแนน ค่าเฉลี่ยของกลุ่มเท่ากับ 16.63 คิดเป็นความก้าวหน้าร้อยละ 66.48 และ 2) จำนวนนักเรียนที่สามารถเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดในหลักสูตรหลังจากเรียนด้วยรูปแบบการตอบสนองต่อการช่วยเหลือ 2 ระยะ มีจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยการช่วยเหลือระยะที่ 1 ที่เป็นการสอนทั้งชั้น ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 จำนวน 4 คน การช่วยเหลือระยะที่ 2 ที่เป็นการสอนแบบ กลุ่มย่อย ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 จำนวน 4 คน และเมื่อทดสอบหลังเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ทั้ง 8 คน คำสำคัญ : การตอบสนองต่อการช่วยเหลือ, ความสามารถด้านการเขียนตัวอักษรแสดง จำนวนนับ, หูหนวก, บกพร่องทางการได้ยิน Suthit Simma. 2018. Ability to Write Amount in Words of Grade 4 Students with Hearing Impairment in Sotsuksa Khonkaen School for the Deaf Through the Response to Intervention (RTI). A thesis of the master’s degree in Education (Curriculum and Instruction: Special Education)., Graduate School, Khon Kaen University. Thesis Advisors: Associate. Professor Aunchalee Sarattana ABSTRACT The aim of this research were to study the ability to write alphabetical representation of numbers of the fouth students with hearing impairment in Sotsuksa Khon Kaen School for the Deaf by using the Response to Intervention (RtI), and to study those who were able to write alphabetical representation of numbers after the use of RtI. Participants were eight hearing impaired students in the fouth grade level of Sotsuksa Khon Kaen School for the Deaf, who were purposively selected. There were three research instruments: 1) two tiers lesson plans consisted of lesson plans for the whole class and ones for students in small groups 2) the ability test to write alphabetical representation of numbers, and 3) progress monitoring worksheets. Th experimental study was a One-Group Pretest-Posttest design. The percentage, mean, and standard deviation were used to analyze quantitative data. The results revealed that, 1) Their difference score of posttest and pretest were between 13-20 with mean score equal to 16.63 or had progress 66.48 %. 2) There were eight students, or 100% of participants, who passed the test and met the criteria of 60% of the test after the use of two tiers RtI. In the first tier aiming to facilitate the whole class, there were four student who passed the test which met the criteria of 60% of the test. In the second tier aiming to facilitate students in small group, there were four students who passed the test which met the criteria of 60% of the test. Lastly, eight students passed the posttest and all met the criteria of 60% of the posttest. Keywords : Response to Intervention (RtI), Ability to write alphabetical representation of numbers, Deaf students, Students with hearing impairment  
ผู้เขียน
575050348-7 นาย สุทิตย์ สิมมา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0