2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ประสิทธิภาพของเครื่องมือเวฟวันโกลด์รีซิโพรเคติ้งไฟล์ และไฮเฟลกซ์อีดีเอ็มในการรื้อ วัสดุอุดคลองรากฟันในฟันที่ผ่านการรักษาคลองรากฟันแล้ว 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 31 พฤษภาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 4 การวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Research for Sustainable Development) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชธานี 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชธานี 
     จังหวัด/รัฐ อุบลราชธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 31 พฤษภาคม 2562 
     ถึง 31 พฤษภาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1528-1536 
     Editors/edition/publisher เบญจมาศ สายบัว 
     บทคัดย่อ การรักษาคลองรากฟันซ้ำเป็นการรักษาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการรักษาคลองรากฟันครั้งแรกแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ จึงจำเป็นต้องรื้อวัสดุอุดคลองรากฟันออก เพื่อเข้าไปทำความสะอาดบริเวณปลายรากฟันเป็นการแก้ไขเพื่อให้เกิดผลสำเร็จของการรักษา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องมือนิกเกิลไทเทเนียมโรตารี่ไฟล์สองระบบ คือ ระบบหมุนไป-กลับ (เวฟวันโกลด์รีซิโพรเคติ้งไฟล์) และระบบหมุนทางเดียวไม่ย้อนกลับ (ไฮเฟลกซ์อีดีเอ็ม) ในการรื้อวัสดุอุดคลองรากฟัน โดยดูทั้งระยะเวลาที่ใช้และความสะอาดของคลองรากฟันหลังจากการรื้อ ศึกษาในฟันกรามน้อยล่าง 20 ซี่ ขยายและอุดคลองรากฟัน จากนั้นแบ่งฟันออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 รื้อวัสดุอุดคลองรากฟันด้วยเครื่องมือเวฟวันโกลด์รีซิโพรเคติ้งไฟล์ และกลุ่มที่ 2 รื้อด้วยไฮเฟลกซ์อีดีเอ็ม บันทึกเวลาขณะรื้อ หลังจากนั้นทำฟันใสและบันทึกภาพพื้นที่วัสดุอุดคลองรากฟันที่เหลืออยู่ นำเข้าโปรแกรมอิมเมจเจเพื่อคำนวณ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-test วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแตกต่างของเวลาที่ใช้และปริมาณวัสดุอุดคลองรากฟันที่เหลืออยู่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ผลการทดลองพบว่าเครื่องมือเวฟวันโกลด์รีซิโพรเคติ้งไฟล์ใช้เวลา (162.30 ± 29.13) ในการรื้อวัสดุอุดคลองรากฟันน้อยกว่าไฮเฟลกซ์อีดีเอ็ม (207.10 ± 34.36) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยมีปริมาณวัสดุอุดคลองรากฟันที่เหลืออยู่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ของเครื่องมือทั้งสองชนิด  
ผู้เขียน
605130008-9 น.ส. เบญจมาศ สายบัว [ผู้เขียนหลัก]
คณะทันตแพทยศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 14