2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะไข้ในผู้ป่วยสมองบาดเจ็บ ระยะ 72 ชั่วโมงแรกและได้รับการผ่าตัดสมอง (FACTORS ASSOCIATED WITH FEVER WITHIN THE FIRST 72 HOURS IN PATIENTS WITH TRAUMATIC BRAIN INJURY UNDERWENT BRAIN SURGERY)  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 5 สิงหาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ North-Eastern Thai Journal of Neuroscience 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     ISBN/ISSN ISSN: 1905-6729 
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า
     บทคัดย่อ การวิจัยเชิงบรรยายแบบวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลัง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะไข้และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะไข้ ในผู้ป่วยสมองบาดเจ็บระยะ 72 ชั่วโมงแรกและได้รับการผ่าตัดสมอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองบาดเจ็บ ตามแนวทาง ICD-10 และได้รับการผ่าตัดสมอง ที่ลงทะเบียนเข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2560 และมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์คัดเข้าศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 520 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายลักษณะกลุ่มตัวอย่าง ใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรเดี่ยว ใช้สถิติ Univaliate logistic regression analysis นำเสนอด้วยค่า Crude odds ratio (ORcrude) หลังการวิเคราะห์แบบตัวแปรเดี่ยว คัดเลือกตัวแปรที่มีค่า P-value < .20 เข้าสู่สมการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบตัวแปรพหุ โดยสถิติ Multiple logistic regression analysis นำเสนอด้วยค่า Adjusted OR (ORadj) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และช่วงความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95 ของ Adjusted OR (95% CI of ORadj) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด ภาวะไข้ในผู้ป่วยสมองบาดเจ็บ ระยะ 72 ชั่วโมงแรกและได้รับการผ่าตัดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 หลังจากควบคุมอิทธิพลของปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง คือ ภาวะ Subarachnoid hemorrhage (p-value = .019; ORadj = 1.61; 95%CI = 1.08-2.39) ภาวะ Intracerebral hemorrhage (p-value = .010; ORadj = 1.65; 95%CI = 1.13-2.41) สมองบาดเจ็บที่ตำแหน่ง Frontal (p-value = .018; ORadj = 1.80; 95%CI = 1.11-2.94) ระดับคะแนน MAAS ที่ 4-6 คะแนน (p-value = .040; ORadj = 0.55; 95%CI = 0.31-0.97) การได้รับยาปฏิชีวนะ (p-value = .028; ORadj = 10.94; 95%CI = 1.29-92.50) การได้รับยากันชัก (p-value = .034; ORadj = 2.55; 95%CI = 1.07-6.07) การได้รับยาลดไข้ (p-value < .001; ORadj = 3.15; 95%CI = 2.06-4.82) และ การได้รับอาหาร (p-value = .002; ORadj = 1.96; 95%CI = 1.29-2.98) จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะไข้ ในผู้ป่วยสมองบาดเจ็บ ระยะ 72 ชั่วโมงแรกหลังได้รับบาดเจ็บและได้รับการผ่าตัดสมอง มีความเกี่ยวเนื่องทั้งปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยที่เกิดจากพยาธิสภาพหลังสมองบาดเจ็บและปัจจัยที่เป็นผลจากการรักษา ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสาธารณสุขที่มีส่วนเกี่ยวข้องอาจพิจารณานำเอาองค์ความรู้จากการศึกษานี้ ประยุกต์เป็นแนวทางการจัดการภาวะไข้ในกลุ่มผู้ป่วยสมองบาดเจ็บและได้รับการผ่าตัดสมอง เพื่อนำไปสู่การพัฒนามาตรฐานการดูแลต่อไป  
     คำสำคัญ ภาวะไข้ระยะ 72 ชั่วโมงแรก, สมองบาดเจ็บ, การผ่าตัดสมอง 
ผู้เขียน
605060042-8 นาย วุฒิชัย สมกิจ [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0