2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลการออกกำลังกายแบบประสานสัมพันธ์(ตา-มือ) ประกอบเพลงสมัยนิยมต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุ  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 20 สิงหาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร ศรีนครินทร์เวชสาร (Srinagarind Medical Journal) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN ISSN 0857 3123 
     ปีที่ 34 
     ฉบับที่
     เดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า ยังไม่ได้ตีพิมพ์ 
     บทคัดย่อ ผลการออกกำลังกายแบบประสานสัมพันธ์ (ตา-มือ) ประกอบเพลงสมัยนิยมต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุ อัตถสิทธิ์ ไชยณรงค์1* ,จุฬาภรณ์ โสตะ2 1 หลักสูตรวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลักการและวัตถุประสงค์: ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเสื่อมถอยของสมรรถภาพทางกลไกของร่างกาย โดยเฉพาะด้านการทรงตัว ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งของการหกล้มในผู้สูงอายุ การออกกำลังกาย จะมีส่วนช่วยป้องกันการหกล้มได้ โดยจะต้องออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง มีระยะเวลาในการออกกำลังกายเหมาะสม ผู้วิจัยได้สร้างโปรแกรมการออกกำลังกาย ที่ปลอดภัย ทำได้ทุกพื้นที่ ประหยัดและมีความสนุกสนานเพลิดเพลิน วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษา กึ่งทดลองทำการศึกษาในกลุ่มผู้สูงอายุสุขภาพดี อายุ 60-69 ปี จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 ราย และกลุ่มควบคุม 30 ราย กลุ่มทดลองได้รับการฝึกโปรแกรมการออกกำลังกายแบบประสานสัมพันธ์ (ตา-มือ) ประกอบเพลงสมัยนิยมระยะ 12 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมให้ใช้ชีวิตตามปกติ ทั้งสองกลุ่ม มีการทดสอบความสามารถการทรงตัวลุกเดิน 8 ฟุต โดยทดสอบ ก่อนการฝึก หลังการฝึก 6 สัปดาห์ และหลังการฝึก 12 สัปดาห์ ใช้สถิติ Two-way Repeated Measures ANOVA ผลการศึกษา: พบว่าความสามารถการทรงตัวลุกเดิน 8 ฟุต กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 13.95, p < 0.05) มีคะแนนเฉลี่ยทั้งก่อนการฝึก หลังการฝึก 6 สัปดาห์ และ 12 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (F = 33.95, p < 0.05) โดยกลุ่มทดลองมีพัฒนาการด้านการทรงตัวดีกว่ากลุ่มควบคุมตัวแปรเรื่องเวลาและตัวแปรเรื่องกลุ่มมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 19.18, p < 0.05) การฝึกโดยใช้โปรแกรมการออกกำลังกายแบบประสานสัมพันธ์ (ตา-มือ) ประกอบเพลงสมัยนิยมระยะ 12 สัปดาห์ สามารถเพิ่มความสามารถในการทรงตัวแบบมีการเคลื่อนไหวและ อยู่กับที่ ได้เป็นอย่างดี ผู้สูงอายุ, การออกกำลังกายแบบประสานสัมพันธ์ (ตา-มือ), การทรงตัว  
     คำสำคัญ ผู้สูงอายุ, การออกกำลังกายแบบประสานสัมพันธ์ (ตา-มือ), การทรงตัว 
ผู้เขียน
587100005-5 นาย อัตถสิทธิ์ ไชยณรงค์ [ผู้เขียนหลัก]
บัณฑิตวิทยาลัย ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0