2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันอุบัติภัยจากการจราจรรถจักรยานยนต์ของวัยรุ่นนอกระบบการศึกษา 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 23 สิงหาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม 12 th ATRANS Annual Conference: Young Researcher’s Forum (AYRF) 2019 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม ASIAN TRANSPORTATION RESEARCH SOCIETY 
     สถานที่จัดประชุม Chatrium Hotel Riverside Bangkok 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพฯ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 23 สิงหาคม 2562 
     ถึง 23 สิงหาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2019 
     Issue (เล่มที่) 12 
     หน้าที่พิมพ์ 52-63 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันอุบัติภัยจากการจราจรรถจักรยานยนต์ของวัยรุ่นนอกระบบการศึกษา อายุ 15 – 19 ปี อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย และประเมินความพึงพอใจในการใช้สติ๊กเกอร์ไลน์เพื่อสร้างเสริมการปฏิบัติตนในการป้องกันอุบัติภัยจากการจราจรรถจักรยานยนต์ของวัยรุ่นนอกระบบการศึกษาในกลุ่มทดลอง โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อเสริมสร้างในการป้องกันอุบัติภัยจากการจราจรรถจักรยานยนต์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 78 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 39 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 39 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับการใช้แอพพลิเคชั่นกลุ่มไลน์ “วัยซ่าส์...ขับขี่ปลอดภัย” เป็นสื่อกลางในการให้ความรู้และส่งสติ๊กเกอร์ไลน์ “ขับขี่ปลอดภัย” โดยส่งทุกวันในระหว่างการดำเนินการวิจัยวันละ 3 เวลา (08:00,12:00,18:00) เพื่อสร้างเสริมการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันอุบัติภัยจากการจราจรรถจักรยานยนต์ กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายประกอบสื่อ Power Point การเสนอตัวแบบผ่านสื่อ VDO ฝึกทักษะการคาดการณ์อุบัติเหตุผ่านโปรแกรม Honda Safety APT Application การเข้าถึงข้อมูลสถานบริการสุขภาพผ่านโปรแกรม ThaiEMS 1669 Application การอภิปรายกลุ่ม การสาธิตการปฏิบัติ และการติดตามกระตุ้นเตือนให้กำลังใจ ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มด้วยสถิติอนุมานได้แก่ Paired t-test และ Independent t-test ตามลำดับ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันอุบัติภัยจากการจราจรรถจักรยานยนต์ของวัยรุ่นนอกระบบการศึกษา กลุ่มทดลองมีความรอบรู้ด้านสุขภาพทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับสูง และมีคะแนนเฉลี่ยของด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ด้านการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างการปฏิบัติตน ด้านการตัดสินใจในการปฏิบัติตน ด้านการจัดการตนเองด้านการรู้เท่าทันสื่อ และด้านการปฏิบัติตนสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และในกลุ่มทดลองมีระดับความพึงพอใจในการใช้สติ๊กเกอร์ไลน์ “ขับขี่ปลอดภัย” ด้านรูปลักษณ์ของสติ๊กเกอร์ไลน์ ด้านความมีเอกลักษณ์ของสติ๊กเกอร์ไลน์ ด้านความหลากหลายของสติ๊กเกอร์ไลน์ และด้านคุณภาพของข้อมูลสติ๊กเกอร์ไลน์ อยู่ในระดับสูง นั่นคือสติ๊กเกอร์ไลน์ “ขับขี่ปลอดภัย” มีประสิทธิภาพสามารถสื่อสารให้กลุ่มทดลองเกิดความเข้าใจในการปฏิบัติตนและเกิดความตระหนักในการป้องกันอุบัติภัยจากการจราจรรถจักรยานยนต์ This quasi – experimental research which aimed to study the effectiveness of health education program by utilizing line application for enhancing health literacy in motorcyclist accident prevention among non-formal education adolescents. The average age of the sample group age ranged from 15 to 19 years old adolescents who live in Tha Li district, Loei province. In the experimental group, the research applied line stickers in a satisfaction survey in order to enhance health literacy in preventing motorcyclist accident among non-formal education adolescents. The study applied simple random sampling to select the sample group. There were 78 people total in the sample group which divided into 39 people in the experimental group and the comparison 39 people. The experimental group received health education along with line program and invited into the line group chat called “Safe Teen Driver” as a channel to enhance their health literacy and sent “Safe Drive” line stickers into the group chat three times a day every day during the experimental period at 8:00 a.m., 12:00 p.m. and 6:00 p.m. The “Safe Teen Driver” chat group was a way to enhance the adolescent’s health literacy in preventing accidents arisen from motorcycles. Furthermore, the experimental group were supplemented with lectures with power point slides, VDO, and accident prediction test through Honda Safety APT Application, the access to health service information via ThaiEMS 1669 Application, group discussion, demonstration, practice, and along with follow-ups throughout the experimental period for 12 weeks. The research used questionnaire to collect the data. The data of the study were utilized descriptive statistics which combined of percentage, mean, standard deviation (SD), median, maximum, minimum, and the comparison within group and between groups by using inferential statistics included Paired t-test and Independent t-test respectively. The research was set the significance level at 0.5. The result showed that the experimental group has a higher score of overall understanding of six aspects of the health literacy in preventing accidents from motorcyclist driving among non-formal education adolescents. The experimental group also has a higher average score in many aspects which were knowledge, understanding, access to health service, communication for enhancing self-care, decision making skill, self-management, media literacy, self-practice. The result of experimental group has a significance result higher (p < 0.001) than before and than comparison group. Moreover, the experimental group has a high average satisfaction score in many aspects in using “Safe drive” Line stickers includes character of the stickers, the uniqueness of the stickers, variety of the stickers, and quality of the stickers. As a result, “Safe Drive” stickers have an effect towards the experimental group in enhancing their understanding in health literacy and raise the awareness in preventing accident from driving motorcycles.  
ผู้เขียน
605110104-5 นาย ณัฐวัตร ปัญญาใส [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล THE BEST PAPER & PRESENTATION AWARD 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล ASIAN TRANSPORTATION RESEARCH SOCIETY 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 23 สิงหาคม 2562 
แนบไฟล์
Citation 0