2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของบทเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์วิชาภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 9 สิงหาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 17 
     ฉบับที่ 78 
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ วิชาภาษาญี่ปุ่นพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สร้างขึ้น 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานบนเว็บที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 3) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และ 4) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมวาริชภูมิ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร จำนวน 30 คนโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากง่าย .44-.68 ค่าอำนาจจำแนก .20-.56 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .52 3) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 4 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ การวิจัยในครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งการทดลองที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.00/81.67 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ในรายวิชาภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด  
     คำสำคัญ บทเรียนแบบผสมผสาน, การคิดสร้างสรรค์, เทคนิคการเรียนรู้ร่วมกัน 
ผู้เขียน
575050196-4 น.ส. สุนิจฐา พองพรหม [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0