2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ สังคีตลักษณ์และการด้นกีตาร์แจ๊สในเพลง Something Like Bags ของเวส มอนท์โกเมอรี่ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 3 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 12 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาสังคีตลักษณ์ในเพลงแจ๊สของเวส มอนท์โกเมอรี่ 2) เพื่อศึกษาแนวคิดที่ใช้ในการด้นในเพลงแจ๊สของเวส มอนท์โกเมอรี่จากบทเพลงที่ประพันธ์และบรรเลงโดย เวส มอนท์โกเมอรี่ ได้แก่ เพลง Something Like Bags จากการวิเคราะห์สังคีตลักษณ์ในบทเพลงดังกล่าวพบว่า สังคีตลักษณ์เป็นแบบทำนองหลักและการแปร (Theme and variation)ในส่วนของทำนองหลักเพลง Something Like Bags ในท่อนหัวเพลงอยู่ในแบบ A A, B ในทางเดินคอร์ดบลูส์ 12 ห้อง โดยการสร้างและพัฒนาแนวทำนอง ในทำนองหลัก พบว่าได้มีการสร้างและพัฒนาทำนองหลักโดยใช้วิธีการพัฒนาที่หลากหลายได้แก่ การสร้างและพัฒนาทำนองหลัก ด้วยการดัดแปลงทำนอง(Transformation) การซ้ำ (Repetition) การดัดแปลงกระสวนจังหวะของโมทีฟ (Motif Transformation) แนวคิดการด้น การบรรเลงในแต่ละคอรัส คือส่วนแรกเป็นการบรรเลงด้วยการด้นแบบโน้ตแนวเดียว(Single Notes) ส่วนที่สองคือการเล่นแบบขั้นคู่(Octave) ส่วนที่สามคือการเล่นแบบคอร์ดโซโล่หรือ บล็อกคอร์ด(Block Chords)ใช้ในท่อนจบเพลง โดยใช้การใช้โน้ตในคอร์ด (Chord tone) - การใช้โน้ตผ่าน (Passing Tone) การใช้โน้ตเคียง (Neighbor Tone) การใช้โน้ตในส่วนขยายของคอร์ด (Tension Chord) การสร้างแนวทำนองซ้อนทับบนคอร์ด (Superimposed) วางตรัยแอดซ้อน (Triadic Superimpose) การใช้โน้ตในคอร์ดแทนชนิดตรัยโทน (Tritone Substitution) การใช้โน้ตแบบโครมาติก (Chromatic Scale) การใช้โน้สแยกหรืออาร์เปโจ (Arpeggio) การใช้ประสานคู่แปด (Octave) โซโลด้วยโน้ตเป้าหมาย (Guide Tone soloing) การใช้คอร์ดแทนด้วยการสลับโหมด (Modal Interchange) บันไดเสียงเสียงที่ใช้ พบบันไดเสียงที่ใช้ได้แก่ บันไดเสียงเมเจอร์ (Major Scale) บันไดเสียงแจ๊สไมเนอร์ (Melodic Minor Scale) บันไดเสียงบลูส์ (Blues Scale) บันไดเสียงเพนทาโทนิค (Pentatonic Scale) โมด (Mode) การประสานและทางเดินคอร์ด พบว่ามีการใช้คอร์ดโทนิคเคลื่อนเข้าหาคอร์ดดอมินันท์ และบางครั้งพบว่ามีการใช้คอร์ดไดอาโทนิคแบบผ่าน (Diatonic Passing Chords) ทั้งที่เป็นไดอาโทนิคคอร์ดและทางคอร์ดรองชนิดดอมินันท์ (Secondary Dominant Chords ) และยังพบว่ามีการใช้คอร์ดแทน (Substitution) ที่มีสมาชิกคอร์ดร่วมกันหลายครั้ง โดยส่วนมากพบว่าจะใช้คอร์ดแทนที่อิงมาจากคอร์ดดอมินันท์เป็นหลัก การใช้คอร์ดดำเนินทำนอง (Chord Melody) การใช้คอร์ดทบขยาย (Extention Chord) การใช้คอร์ดแทน (Substitution Chord) การใช้เอ็กเทนด์ดอมินันท์ (Extended Dominant) ใช้วิธีดร็อป 2 และดร็อป 2-4 (Drop 2 & Drop 2-4) คำสำคัญ: สังคีตลักษณ์, แนวคิดการด้น, เวส มอนท์โกเมอรี่ Abstract This article aims to analyze forms of Wes Montgomery’s music and to study his improvisation concepts in these which are Something Like Bags The artice results show that Theme and Variation form was used in a songs. There were various techniques which were employed in creating and developing themes which were repetition, transposition, alternating with the motif, motif extension by using sequence, transformation of motif and creation of contrast motif. A songs was tonal music. Wes Montgomery varied his melody by improvising. He called each variation “Chorus” (one chorus means one variation). The first section was improvised with single notes. The second section was improvised using an Octave. The third section was played using chords solo and block chords. Improvising concept by Chord tone, Passing Tone, Neighbor Tone, Tension Chord, Superimposed, Triadic Superimpose, Tritone, Arpeggio, Octave, Guide Tone soloing, Modal Interchange, Major Scale, Melodic Minor Scale, Blues Scale, Mode. Wes Montgomery show that harmony and chord progression by Diatonic Passing Chords, Secondary Dominant Chords, Substitution, Chord Melody, Extention Chord, Substitution Chord, Extended Dominant, Drop 2 & Drop 2-4. Key words: Form, Improvisation concepts, Wes Montgomery  
     คำสำคัญ Form, Improvisation concepts, Wes Montgomery 
ผู้เขียน
567220001-2 นาย กฤษฎา วงศ์คำจันทร์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0