2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title เอกลักษณ์ลวดลายแห่งความเชื่อในชุดประจำชาติพันธุ์ลาหู่มณฑลยูนนานประเทศจีน 
Date of Distribution 13 July 2017 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติศิลปกรรมวิจัยครั้งที่ 3  
     Organiser คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place โรงแรมเจริญธานีขอนแก่น 
     Province/State  
     Conference Date 13 July 2017 
     To 14 July 2017 
Proceeding Paper
     Volume 2560 
     Issue
     Page 857-864 
     Editors/edition/publisher  
     Abstract ชุดประจำชาติพันธุ์ไม่เพียงแต่จะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ยังแสดงถึงเอกลักษณ์ และคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียม จนกระทั่งรากเหง้าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจน บทความนี้จึงมุ่งศึกษารูปแบบและลวดลายบนเสื้อผ้าที่ปรากฏในชุดประจำของชาติพันธุ์ลาหู่ในมณฑลยูนนานประเทศจีน เพื่อทำความเข้าใจที่มาหรือความหมายของลวดลายต่างๆและเอกลักษณ์ลวดลายที่แสดงถึงสัญลักษณ์และอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ลาหู่ในบริบทรูปแบบเสื้อและลวดลายอันหลากหลายที่มีความแตกต่างกัน จากการศึกษาเอกลักษณ์ลวดลายแห่งความเชื่อในชุดประจำชาติพันธุ์ลาหู่มณฑลยูนนานประเทศจีนได้แสดงให้เห็นว่า ชาติพันธุ์ลาหู่แป่งออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ 4 กลุ่ม ได้แก่ ลาหู่นะ(มูเซอดำ) ลาหู่ฌี(มูเซอเหลือง) ลาหู่ภู(มูเซอขาว,ปัจจุบันหายสิ้นไปแล้ว) ลาหู่ณีย่า(มูเซอแดง) (Editorial committee of A brief history of lahu.2008) และลาหู่นะ(มูเซอดำ) ลาหู่ฌี(มูเซอเหลือง) ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ที่มณฑลยูนนานประเทศจีน ส่วนลาหู่ณีย่า(มูเซอแดง)จะกระจายในทางภาคเหนือของประเทศไทย แม้ว่ารูปแบบเสื้อและลวดลายที่ปักบนผืนผ้าของชาติพันธุ์ลาหู่มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละกลุ่ม แต่โดยพิจรณาแล้วก็มีเอกลักษณ์เช่นเดียวกัน คือ ถือสีดำเป็นสีสัญลักษณ์ของตนเอง ชุดประจำจะใช้ผ้าสีดำเป็นหลัก ปัจจุบันนี้มีใช้ผ้าสีแดง สีฟ้าหรือสีม่วงเป็นพื้น และตกแต่งด้วยการปักเส้นด้ายสีสันต่างๆหรือผ้าหลากสี และเม็ดโลหะเงินอย่างสวยงาม ลวดลายของชนเผ่าลาหู่มีที่มาหรือความเชื่อค่อนข้างหลากหลาย อาทิ ลวดลายอันแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นชนเผ่า ลวดลายที่มีที่มาจากธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ พืชพรรณ ดอกไม้ สัตว์ เป็นต้น ลวดลายที่มีที่มาจากความเชื่อเรื่องผี วิญญาณ และอีกกรณีหนึ่งที่ลักษณะลวดลายอาจมีการนำเอารูปแบบจากชนเผ่าอื่นเข้ามาผสมผสานอยู่ด้วยกัน เอกลักษณ์ลวดลายที่แสดงถึงสัญลักษณ์หรืออัตลักษณ์ของเผ่าพันธุ์ลาหู่ คือ ลายน้ำเต้า ลายฟันเขี้ยวหมาและลายปักด้ายสีสัน 3 ตอน  
Author
597220024-3 Mrs. BINGYING SHE [Main Author]
Fine and Applied Arts Doctoral Degree

Peer Review Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Poster 
Part of thesis false 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0