2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของการบาดเจ็บสมองหลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล* Factors Associated with Severity of Traumatic Brain Injury After Hospital Admission*  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 11 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของการบาดเจ็บสมองหลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล* 
     ปีที่ 42 
     ฉบับที่
     เดือน ตุลาคม-ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า
     บทคัดย่อ การศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลังเพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดความรุนแรงของการบาดเจ็บสมองและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของการบาดเจ็บสมองหลังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาระหว่างวันที่ 1 มกราคม-30 มิถุนายน 2561 จำนวน 95 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi-Square Statistics และ Univariate regression analysis ผลการวิจัยพบอุบัติการณ์ความรุนแรงของการบาดเจ็บสมองร้อยละ37.89 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรุนแรงของการบาดเจ็บสมอง ได้แก่ ตำแหน่งสมองที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณ Parietal area และ Temporal area, ตำแหน่งสมองที่ได้รับบาดเจ็บมากกว่า 1 ตำแหน่ง, ระยะเวลาตั้งแต่บาดเจ็บสมองจนถึงได้รับยากันชัก, การผ่าตัดแบบ decompressive craniectomy, ค่าคะแนน GCS แรกรับ, อุณหภูมิกายสูงสุดหลังเข้ารับการรักษา 24 ชั่วโมงแรก, ค่าเฉลี่ย DTX 24 ชั่วโมงแรก, ค่า O2 saturation แรกรับ, ค่า PaCO2 และ ผล CT brain พบ midline shift คำสำคัญ : การบาดเจ็บสมอง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรง ABSTRACT This retrospectively descriptive research aimed to study factors related to severity of traumatic brain injury (TBI) after hospital admission. Data was collected from medical record of 95 patients who admitted between January 1 and June 30, 2018. Data were analyzed using Chi-Square statistics and Univariate Logistic Regression. The study findings showed that the incidence rate of TBI was 37.89%. The factors associated with severity of TBI were traumatic brain injury at parietal area and temporal area, TBI more than one area, duration to dilantin time, decompressive craniectomy, first GCS, highest body temperature within 24 hours, O2 saturation, PaCO2, average DTX within 24 hours, and CT brain with midline shift.  
     คำสำคัญ Traumatic brain injury, Factors associated with severity 
ผู้เขียน
575060015-8 น.ส. ณัฐธยาน์ พันธุออน [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0