2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลกระทบของความเร็วในการดึงต่อประสิทธิภาพทางไทรโบโลยีของสารหล่อลื่นในงานขึ้นรูปแผ่นโลหะ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 11 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN ิื่ISSN 2672-9636 
     ปีที่ 2563 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน 2563
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า  
     บทคัดย่อ รายงานการวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับผลของการเปลี่ยนแปลงความเร็วในการขี้นรูปแผ่นโลหะต่อประสิทธิภาพทางไทรโบโลยีของสารหล่อลื่น โดยใช้การทดสอบทางไทรโบโลยีสำหรับงานขึ้นรูปแผ่นโลหะ (Strip Drawing Tribometer) และการตรวจสอบการสึกหรอ (Wear) ซึ่งแผ่นโลหะที่ใช้ในการศึกษานี้คือ เหล็ก JSH780R วัสดุแม่พิมพ์ที่ทดสอบคือ เหล็ก SKD11 โดยจะทำการกดวัสดุแม่พิมพ์บนแผ่นโลหะ โดยใช้แรงกดแม่พิมพ์ที่ 8000 N ซึ่งแรงที่ให้นั้นจะเป็นแรงทดสอบที่คงที่ในการกระทำต่อชิ้นงาน (static load test) โดยทำการทดสอบที่อุณหภูมิห้อง ภายใต้สารหล่อลื่น 3 ประเภทคือ (1) สารหล่อลื่นที่ผสมคลอรีน (2) สารน้ำมันหล่อลื่น และ (3) สารหล่อลื่นที่ไม่ผสมคลอรีน และดำเนินการทดสอบภายใต้การเคลื่อนที่ของแผ่นโลหะที่ 10 มม./นาที กับ 100 มม./นาที ซึ่งตัวชี้วัดประสิทธิภาพทางไทรโบโลยีจะสามารถวัดได้จาก ค่าสัมประสิทธิแรงเสียดทาน (Coefficient of Friction) และ การสึกหรอของแม่พิมพ์ (Die Wear) โดยจากผลการทดสอบสรุปได้ว่า สารหล่อลื่นที่มีส่วนประกอบหลักเป็นคลอรีนกับซัลเฟอร์ (สารหล่อลื่นที่ผสมคลอรีน) จะไม่ได้รับผลกระทบทางไทรโบโลยีจากการเพิ่มความเร็ว แต่สารหล่อลื่นที่มีส่วนประกอบหลักเป็นซัลเฟอร์อย่างเดียว (สารน้ำมันหล่อลื่น และ (3) สารหล่อลื่นที่ไม่ผสมคลอรีน) จะมีค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานและการสึกหรอลดลงเมื่อความเร็วสูงขึ้น 
     คำสำคัญ การขึ้นรูปแผ่นโลหะ สารหล่อลื่นสำหรับงานขึ้นรูปโลหะ ความเร็ว  
ผู้เขียน
605040059-3 นาย ภาณุวัฒน์ จิววัฒนารักษ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0