2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การสร้างสรรค์ผลงานวาดเส้น ชุด สิมอีสาน  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 12 กรกฎาคม 2562 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ศิลปกรรมวิจัย ครั้งที่ 5 ศิลปะสร้างโลก Arts Create the World 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 12 กรกฎาคม 2562 
     ถึง 13 กรกฎาคม 2562 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 197-206 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานวาดเส้น ชุด สิมอีสาน 2) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานวาดเส้น ชุด สิมอีสาน 3) เพื่อศึกษาสุนทรียภาพในผลงานวาดเส้น ชุด สิมอีสาน ซึ่งมีขอบเขตการศึกษาข้อมูลด้านเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับสิมอีสาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากภาคสนาม ภาพถ่าย และเอกสารที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์ข้อมูลจัดเป็นหมวดหมู่ สังเคราะห์ข้อมูล ร่างภาพต้นแบบ และปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานจริงจนเสร็จสมบูรณ์ นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ประกอบภาพวาดลายเส้น ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานวาดเส้น ชุด สิมอีสาน มีแนวทางการสร้างสรรค์ดังนี้ 1) กำหนดแนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน 2) รวบรวมข้อมูลจากภาคสนามและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานจัดเป็นหมวดหมู่ในแต่ละส่วนให้ชัดเจน 4) สังเคราะห์ข้อมูลที่จะสร้างสรรค์ โดยการนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาทำภาพร่างต้นแบบจัดองค์ประกอบให้เกิดเอกภาพ 5) ปฏิบัติการตามขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งประกอบด้วย การเตรียมวัสดุและอุปกรณ์, การทำภาพร่างต้นแบบ, การขยายแบบ, การเก็บรายละเอียดผลงานจนเสร็จสมบูรณ์ ได้ผลงานวาดเส้นสร้างสรรค์ทั้งหมดจำนวน 5 ชิ้น เป็นผลงานวาดเส้น ชุด สิมอีสาน โดยแสดงถึงสุนทรียภาพของผลงานด้านเนื้อหาที่เป็นการสะท้อนถึงคุณค่าทางความงามในการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย สงบ สมถะ ตามคำสอนทางพุทธศาสนาของชาวอีสาน สุนทรียภาพด้านรูปแบบเป็นการแสดงความงามแบบรูปลักษณ์ มีลักษณะภาพแบบเหมือนจริง แสดงออกผ่านทัศนธาตุทางศิลปะที่ประกอบด้วย จุด เส้น สี รูปทรง พื้นผิว ที่ว่าง โดยนำมาจัดภาพตามหลักการทางทัศนศิลป์ที่สัมพันธ์กับเนื้อหาที่ต้องการแสดงออก โดยใช้เทคนิคการวาดเส้นด้วยหมึกจีน เกรยอง ดินสอ แท่งถ่านชาร์โคล มาผสมผสานกันให้เกิดความงามตามเทคนิคเฉพาะตนของผู้สร้างสรรค์ และเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ด้านสถาปัตยกรรมท้องถิ่นที่มีคุณค่าทางด้านจิตใจ ซึ่งการสร้างสรรค์ผลงานวาดเส้นเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมการรับรู้ด้านสุนทรียภาพในจิตใจ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณชน และเกิดการพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปกรรมของประเทศชาติต่อไป  
ผู้เขียน
577220002-1 นาย ศรีพัฒน์ เทศารินทร์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Poster 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0