2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ประสิทธิภาพของราปฏิปักษ์รูปการค้าต่อการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne incognita (Kofoid and White) Chitwood ของมันสำปะหลัง  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 19 สิงหาคม 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารแก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 48 
     ฉบับที่
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2562 
     หน้า 13 
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การทดสอบประสิทธิภาพของราปฏิปักษ์รูปการค้า 4 ชนิด ได้แก่ Product 1 (Beauveria bassiana), Product 2 (Paecilomyces lilacinus), Product 3 (Metarhizium anisopliae) และ Product 4 (Trichoderma harzianum) เพื่อควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม (RKN, Meloidogyne incognita) ของมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 ในสภาพเรือนทดลอง โดยเปรียบเทียบกับการใช้สารเคมีกำจัดไส้เดือนฝอย carbosulfan, กรรมวิธีควบคุม 1 (control 1, ต้นมันสำปะหลังที่มีการราดไข่ไส้เดือนฝอยรากปมอย่างเดียว) และกรรมวิธีควบคุม 2 (control 2, ต้นมันสำปะหลังที่ไม่มีการใช้ทั้งเชื้อราปฏิปักษ์และสารเคมีกำจัดไส้เดือนฝอย รวมทั้งไม่มีการราดไข่) โดยใช้ราปฏิปักษ์รูปการค้าทั้ง 4 ชนิด ตามอัตราแนะนำในฉลากให้กับต้นมันสำปะหลังอายุ 21 วันที่ปลูกในกระถางพลาสติก ต้นละ 1 กระถางที่ 7, 5, 3 และ 0 วันก่อนมีการราดไข่ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design, CRD) มี 19 กรรมวิธี 4 ซ้ำ (กระถาง) แต่ละกระถางมีมันสำปะหลัง 1 ต้น หลังจากนั้น 45 วัน จึงประเมินค่าตัวชี้วัดปริมาณไส้เดือนฝอย ได้แก่ จำนวนกลุ่มไข่ต่อระบบราก (เกณฑ์หลักในการประเมินความรุนแรง) จำนวนไข่ต่อราก 1 กรัม และจำนวนตัวเต็มวัยเพศเมียต่อราก 1 กรัม รวมทั้งประเมินตัวชี้วัดการเจริญเติบโต (ความสูงของต้น น้ำหนักต้นและรากสด และน้ำหนักรากสด) ซึ่งจากการทดลองทั้ง 2 ช่วงเวลา ได้แก่ ฤดูฝน 27 มิถุนายน – 12 สิงหาคม 2561 (21–35.5 ˚ซ, 88–96% R.H.) และ ฤดูหนาว 23 พฤศจิกายน 2561 – 7 มกราคม 2562 (17–35.7 ˚ซ, 80–96% R.H.) พบว่าทั้งฤดูฝนและฤดูหนาวนั้น การใช้ T. harzianum 7 วันก่อนการราดไข่นั้น ให้ผลดีที่สุด เมื่อเปรียบกับการใช้ราปฏิปักษ์อื่นๆต่อการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม โดยทำให้จำนวนกลุ่มไข่ต่อระบบรากเท่ากับ 21.05 และ 116.64 กลุ่มไข่ ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับการใช้สารเคมี carbosulfan ที่มีค่าน้อยที่สุด 20.87 และ 97.14 กลุ่มไข่ ตามลำดับ ส่วนตัวชี้วัดการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังเมื่อประเมินจากความสูงของต้น น้ำหนักต้นและรากสด และน้ำหนักรากสดใน 2 ฤดูที่ทดสอบนั้น พบว่าความสูงของต้นจากกรรมวิธีควบคุม 1 มีความสูงของต้นน้อยที่สุด ในขณะที่การใช้รา M. anisopliae ต่างกรรมวิธีทำให้ต้นมันสำปะหลังมีความสูง และน้ำหนักต้นและรากสด มีค่าอยู่ในระดับมาก – มากที่สุด ขณะที่กรรมวิธีควบคุม1 นั้นมีน้ำหนักต้นและรากสดอยู่ในระดับต่ำ – ต่ำที่สุด ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าราปฏิปักษ์รูปการค้า T. harzianum มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับสารเคมี carbosulfan ต่อการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปมของมันสำปะหลังในสภาพเรือนทดลองดังกล่าว  
     คำสำคัญ ราปฎิปักษ์, รูปการค้า, การควบคุม, ไส้เดือนฝอยรากปม, มันสำปะหลัง  
ผู้เขียน
575030092-8 นาย ภูมิ ต๊ะอุ่น [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0