2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและสมรรถภาพทางกาย ในเกษตรกรปลูกแตงโมขายเมล็ดระบบเกษตรพันธสัญญา อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น 
Date of Acceptance 17 September 2019 
Journal
     Title of Journal วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 
     Standard TCI 
     Institute of Journal สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 0858-8899 
     Volume 27 
     Issue
     Month พฤษภาคม - สิงหาคม
     Year of Publication 2020 
     Page  
     Abstract การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional analytic study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ (MSDs) และสมรรถภาพทางกายในกลุ่มเกษตรกรปลูกแตงโมขายเมล็ดระบบเกษตรพันธสัญญา อำเภอหนองเรือจังหวัดขอนแก่น จำนวน 259คน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติถดถอยโลจิสติก (Logistic regression) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 67.57 อายุเฉลี่ย 53.81 ปี มีประสบการณ์ปลูกแตงโมขายเมล็ด เฉลี่ย 9.20ปี พบความชุกของความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ในรอบ 7 วัน และ6 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 76.45 และ 63.71โดยในรอบ6 เดือนที่ผ่านมาสูงสุด 3 อันดับแรก คือหลังส่วนล่าง ร้อยละ 56.37รองลงมาคือเข่า และน่อง ร้อยละ 23.55, 20.85 ตามลำดับ ด้านสมรรถภาพความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ พบว่ากลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่มีแรงบีบมือข้างถนัด ระดับปานกลาง ร้อยละ 29.73 รองลงมาคือระดับดีมาก ร้อยละ 28.19 แรงเหยียดหลังระดับต่ำมาก ร้อยละ 64.09 รองลงมาคือระดับต่ำ ร้อยละ 33.20 และแรงเหยียดขาระดับต่ำมาก ร้อยละ 31.27 รองลงมาคือระดับปานกลาง ร้อยละ 21.62 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ MSDsในกลุ่มเกษตรกร ได้แก่ โรคประจำตัว (ORadj=4.57; 95% CI=2.19-9.92; p-value <0.001) การสูบบุหรี่ (ORadj=4.12, 95% CI=1.75-9.66; p-value=0.001) การทรงท่าที่ไม่เหมาะสม (ORadj=4.63; 95% CI=2.11-10.12; p-value<0.001) การได้รับแรงสั่นสะเทือน (ORadj=4.64; 95% CI=1.56-13.79; p-value= 0.006) และแรงเหยียดขา (ORadj=3.22; 95% CI=1.69-6.13; p-value<0.001) การศึกษานี้พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ MSDs ในกลุ่มเกษตรกรปลูกแตงโมขายเมล็ดระบบเกษตรพันธสัญญา ทั้งปัจจัยจากการทำงาน โรคประจำตัว และสมรรถภาพความเข็งแรงของกล้ามเนื้อ จึงควรจัดให้มีระบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อโดยองค์กรในชุมชน การอบรมให้ความรู้ด้านปัจจัยคุกคามทางการยศาสตร์ บริการด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย การส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อเรื้อรัง 
     Keyword การปวดหลัง การยศาสตร์ ความชุก แรงเหยียดขา 
Author
605110032-4 Miss KAWINTHIDA TONGLUANG [Main Author]
Public Health Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation false 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0