2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพโดยการประยุกต์ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปานเจริญอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร  
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 20 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ โรคเบาหวานในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นสาเหตุสำคัญของการตาบอด ไตวาย หัวใจวาย โรคหลอดสมอง ฯลฯ และทำให้ชีวิตในที่สุด ดังนั้นการป้องกันโรคเบาหวานจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานควรมีการป้องกันอย่างเร่งด่วนเพราะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานมากกว่ากลุ่มอื่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย กึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพโดยการประยุกต์ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปานเจริญ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ที่มีอายุระหว่าง 35-59 ปี จำนวน 70 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 35 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพโดยการประยุกต์ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆได้แก่ การบรรยายประกอบสื่อการเข้าถึงแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวานฝึกการใช้ YouTube ฝึกการใช้ Application line การพัฒนาทักษะการตัดสินใจโดยกลุ่มร่วมวางแผนการลดระดับน้ำตาลในเลือด การสาธิตการประกอบอาหาร และการฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย ระยะเวลาจัดกิจกรรม 12 สัปดาห์ การรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม และแบบบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงสถิติพรรณนา และทดสอบความแตกต่าง ระหว่างกลุ่มด้วย Independent-t test และภายในกลุ่ม ด้วยPaired-t testโดย กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวานการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการตัดสินใจ การจัดการตนเอง และ พฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน มากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบและก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05 ) ข้อเสนอแนะ ควรนำการประยุกต์ความรอบรู้ด้านสุขภาพไปพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังอื่น ๆ  
     คำสำคัญ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การใช้ YouTube, Application line  
ผู้เขียน
605110052-8 นาย ศักดิ์สิทธิ์ คำเกาะ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0