2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ผลของโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายและการพอกเข่าสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดข้อเข่าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ในคลินิกหมอครอบครัววัดหนองแวง เทศบาลเมืองขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 20 กันยายน 2562 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ฝ่ายวิจัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 13 
     ฉบับที่
     เดือน กรกฏาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2563 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายและการพอกเข่าสมุนไพรเพื่อลดอาการปวดข้อเข่าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ในคลินิกหมอครอบครัววัดหนองแวง เทศบาลเมืองขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่60 ปีขึ้นไปที่มาใช้บริการที่คลินิกหมอครอบครัววัดหนองแวง เทศบาลเมืองขอนแก่นที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมและแพทย์แผนไทยว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน ทั้งสองกลุ่มได้รับการประเมินระดับการปวดข้อเข่า ก่อน และหลังการทดลอง โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการออกออกกำลังกายด้วยยางยืดร่วมกับการพอกเข่าสมุนไพร ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การบรรยายเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม การอภิปรายกลุ่มร่วมกับการฝึกปฏิบัติ แจกคู่มือการดูแลตนเองเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม แผ่นพับการออกกำลังกายด้วยยางยืดทั้งหมด 6 ท่า ร่วมกับการพอกเข่าสมุนไพร สูตรชานุรักษ์ 30 นาที สัปดาห์ละ 1 ครั้ง มีการกระตุ้นเตือนจากผู้ดูแลผู้สูงอายุ อาสาสมัครประจำหมู่บ้านและโทรศัพท์จากผู้วิจัย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามก่อนและหลังการทดลองห่างกัน 12 สัปดาห์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วย Independent t-test และภายในกลุ่มด้วยPaired t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม การรับรู้ความสามารถตนเองของผู้สูงอายุ ความคาดหวังผลลัพธ์จากการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ การปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ และ สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนคะแนนระดับความเจ็บปวดจากการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมพบว่าหลังการทดลองคะแนนระดับความเจ็บปวดลดลงกว่าการทดลอง และลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพนี้ สามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดอาการปวดสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้  
     คำสำคัญ โปรแกรมส่งเสริมการออกกำลังกายร่วมกับการพอกเข่าสมุนไพร, อาการปวดข้อเข่า,ผู้สูงอายุ,ยางยืด 
ผู้เขียน
595110093-3 น.ส. ตันหยง ปานเพ็ชร [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0